นาฏศิลป์ร่วมสมัยในการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม งานประเพณี “สมมาน้ำ คืนเพ็งเส็งประทีป” จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

คฑาวุธ มาป้อง
ศุภกร ฉลองภาค
ทรรณรต ทับแย้ม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนาฏศิลป์ร่วมสมัยในการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสม งานประเพณี “สมมาน้ำ คืนเพ็งเส็งประทีป” จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาประเพณีสมมาน้ำ กระบวนการผลิตนาฏศิลป์ร่วมสมัยในประเพณีลอยกระทง ประเพณีลอยกระทงเป็นพิธีกรรมร่วมกันของผู้คนในชุมชนทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีนาน เพื่อขอขมาต่อธรรมชาติอันมีดินและน้ำที่หล่อเลี้ยง ตลอดจนพืชและสัตว์ที่เกื้อกูลให้พืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์มนุษย์จึงมีชีวิตเจริญเติบโตขึ้นได้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการสังเกต การสัมภาษณ์ และสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ ผลการวิจัยพบว่าการรื้อฟื้นประวัติความเป็นมาของประเพณีลอยกระทงผ่านการแสดงแสง สี เสียง สื่อผสมทำให้ผู้คนในยุคปัจจุบันมีความรู้ความเข้าใจถึงวัฒนธรรมประเพณี และเป็นการสร้างคุณค่าของนาฏศิลป์ร่วมสมัยกับผู้คนให้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความหมายพื้นที่ที่ประจุความหมายทางวัฒนธรรม ขนบวิถีปฏิบัติประเพณีลอยกระทง เพื่อสำนึกบุญคุณของน้ำที่ได้นำมากินมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันรวมทั้ง สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยเรามีวัฒนธรรมที่ผูกพันกับสายน้ำอย่างมาก เพราะน้ำถือเป็นสิ่งสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตมนุษย์ ทั้งที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคอยู่เป็นประจำทุกวัน และอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมไทย ให้อยู่คู่สังคมไทยไปนานเท่านานแถมยังเป็นการกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวสู่ชุมชนผ่านศิลปะการแสดง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2557). ลอยกระทง. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). เปิดงานสมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีปร้อยเอ็ด จัดยิ่งใหญ่นางรำกว่า 5 พันคนร่วมรำ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/local/ localbusiness/ 2743 854

ปฐม หงส์สุวรรณ. (2556). แม่น้ำโขงกับการเป็นเวทีของประเพณีประดิษฐ์ในอีสาน. วารสารอักษรศาสตร์. 42 (2), 169–217.

พระครูพิสณฑ์กิจจาทร (เทิดทูน เชื้อเงินเดือน). (2554). ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของประเพณีลอยกระทง.ปริญญานิพนธ์ พธ.ม.(พระพุทธศาสนา). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลฎาภา ช่างหลอม. (2562). กระบวนการสื่อสารกับการปรับตัวเพื่อสื่อสารประเพณีท้องถิ่น: กรณีศึกษาประ เพณีลอยกระทงในบริบทพื้นที่จังหวัดสุโขทัย, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วิลาสินี น้อยครบุรี. (2560). การจัดการแสดง แสง เสียง ชุด พนมรุ้งมหาเทวาลัย. วิทยานิพนธ์สาขานาฏศิลป์ไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. คณะศิลปกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุดถนอม ตันเจริญ. (2557). การศึกษาประเพณีลอยกระทงตามภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย. (2560). แบบจัดทำรายการเบื้องต้นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. สุโขทัย: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุโขทัย.