การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Predict-Observe-Explain (POE)

Main Article Content

ประภัสรา บุษดา
นิศากร ทองก้อน

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Predict – Observe - Explain (POE) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาเคมีเพิ่มเติม เรื่อง สมการเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Predict – Observe - Explain (POE) และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นในระดับต่าง ๆ ต่อความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Predict – Observe - Explain (POE) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ของโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1 ห้อง 40 คน ซึ่งได้จากการสุ่มห้องเรียนด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) แบบแผนการวิจัยในครั้งนี้ใช้เป็นกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวทดสอบก่อน – หลังการทดลอง (The single group pretest – posttest design) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจในการเรียนจำนวน 17 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
          ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพ 84.75/83.38 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ Predict – Observe - Explain (POE) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความคิดเห็นในระดับต่าง ๆ ต่อความพึงพอใจในการเรียนรู้อยู่ที่ระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนิษฐา ภูดวงจิตร และคณะ. (2564). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับเทคนิค POE เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการเรื่อง การเคลื่อนที่ และแรงของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและการสื่อสาร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 4 (10), 113-122.

กฤษฎา พนันชัย และคณะ. (2561). ความเข้าใจมโนมติและแบบจำลองทางความคิด เรื่อง สมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จากการเรียนด้วยการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับเทคนิคการทำนาย-สังเกต-อธิบาย. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา. 1 (1), 49-60.

ชญานิษฐิ์ สุวรรณกาญจน์, และคณะ. (2562). การพัฒนาความสามารถเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบ Predict-Observe-Explain (POE) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยาลัย ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐวุฒิ ศรีระษา และคณะ. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความ รู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์. 49 (4), 1-13.

เบญจวรรณ พิมูลขันธ์ และคณะ. (2564). การพัฒนาทักษะการพยากรณ์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบสืบ เสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับกลวิธี ทำนาย สังเกต และอธิบาย (POE) เรื่อง พลังงานความร้อน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

มนัสชนก ตานาง. (2562). การพัฒนาความสามารถในการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เรื่องสมดุลเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการสอนแบบทำนาย สังเกต อธิบาย (POE). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

วราลักษณ์ นันตะริ. (2561). ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) ร่วมกับกิจกรรมทำนาย-สังเกต-อธิบาย (POE) เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์.

ศศิภา ฦๅชา และคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 ด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับกลวิธี ทำนาย สังเกต และอธิบาย (POE) เรื่อง การแยกสาร. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ศิริลักษณ์ อินทรวิเศษ และคณะ. (2566). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนสาระวิทยาศาสตร์กายภาพ เรื่อง การระเหย แห้งระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน สามัคคีศึกษา. วารสารปารมิตา. 6 (1), 534-548.

ศักดิ์ศรี สุภาษร. (2555). บทบาทของเมนทอลโมเดลในการเรียนรู้วิชาเคมีระดับโมเลกุล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 35 (1), 1-7.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2554). คู่มือการประเมินสถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(สถานศึกษา พอเพียง) ประจาปี 2554 เป็นต้นไป ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร, 123-125.

อับดุลเลาะ อูมาร์ และคณะ. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง สมดุลเคมี ที่มีต่อแบบจำลองทางความคิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 30 (1), 182-194.

Hompromma, A. and Suwannoi, P. (2010). Grade 10 Thai students’ analogy for explaining rate of reaction. In Proceeding of the 4 1 st Australasian Science Education Research Association (pp. 40-45). New South Wales, Australia: Dave Palmer.