แนวทางการลดความเครียดของผู้ต้องขัง กรณีศึกษานักโทษหญิงคดียาเสพติดในเรือนจำกลางนครปฐม

Main Article Content

Kriangsak Chuamngam
Theertham Wutthiwatchaikaew
Boonsita Sirison
Patit Dhamapong
Attharitthi Krisdathanont

บทคัดย่อ

           การศึกษาพบว่าผู้ต้องขังร้อยละ 43.60 มีความเครียดระดับปานกลางซึ่งเป็นความเครียดระดับปกติ และพบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด กล่าวคือ ผู้ต้องขังที่มีอายุน้อยกว่าจะมีความเครียดมากกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้ต้องขังเครียดมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ เงินไม่พอใช้จ่าย (ค่าเฉลี่ย 2.45) ปวดหลัง (ค่าเฉลี่ย 2.40) และปวดศีรษะข้างเดียว (ค่าเฉลี่ย 2.37) ทั้งนี้เรือนจำกลางนครปฐมมีการดูแลสุขภาวะทางจิตของผู้ต้องขังเป็นอย่างดี แต่ควรเพิ่มเรื่อง (1) ให้ความรู้เรื่องการจัดการความเครียดและการจัดกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายความเครียด (2) เพิ่มสวัสดิการต่าง ๆ (3) พัฒนาทักษะด้านอาชีพ (4) ปลูกฝังค่านิยมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (5) เฝ้าระวังผู้ต้องขังที่เป็นกลุ่มเสี่ยง (6) ค้นหาอาสาสมัครที่มีความรู้ด้านสุขภาพจิตมาร่วมงาน และ (7) เพิ่มความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อทำกิจกรรมในเรือนจำ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก มนตะเสวี, ดวงตา ไกรภัสสร์พงษ์, วิชชุดา จันทรราษฎร์. (2516). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ. กรุงเทพฯ: สถาบันกัลยาราชนครินทร์.

กรมราชทัณฑ์. (2567). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์คดี พ.ร.บ. ยาเสพติดทั่วประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา : http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_result.php?date=2024-02-01&report=drug

กรมราชทัณฑ์. (n.d). คำแปลของข้อกำหนดกรุงเทพฯ, ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา : http://www.correct.go.th/fdcphit/images/stories/pdf/bangkokrules.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ (อสรจ.). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567. แหล่งที่มา : https://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2023-10-02-1-19-50331837.pdf

กลุ่มภารกิจการพยาบาล โรงพยาบาลสวนสราญรมย์. (2563). คู่มือแบบประเมินคัดกรองโรคจิตและปัญหาสุขภาพจิต. https://morningmindcounseling.com/wp-content/uploads/2022/01/%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C.pdf

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ (ฉบับปรับปรุง). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567. แหล่งที่มา : http://www.correct.go.th/ meds/index/Download/สื่อ/แนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธาณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ%20(ฉบับปรับปรุง).pdf

ชลธิช ชื่นอุระ, และ ซาแมนต้า เจฟฟรีย์. (2561). เพศภาวะและเส้นทางสู่เรือนจำ : การศึกษาเรื่องเล่าของผู้ต้องขังหญิงและผู ้ต้องขังชายคดียาเสพติดในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2567. แหล่งที่มา : https://knowledge.tijthailand.org/publication/detail/28#book/

พิษณุ รูปเหมาะ, และ สุภีร์ สมอนา. (2566). แนวทางการส่งเสริมการจัดการคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ: กรณีศึกษาเรือนจำกลางอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 5 (3), น.77-89.

สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์. (2564). แนวทางการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567. แหล่งที่มา : https://www.galya.go.th/2020/dashboard/kcfinder/upload/files/niti_prisoner_2564.pdf.

อภิรมย์ ศรีจันเทพ. (2562). ความเครียดของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช