การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขนาดเล็ก

Main Article Content

ปริวัฒน์ กองอุดม
อนุชา พิมศักดิ์
ชุลิดา เหมตะศิลป์

บทคัดย่อ

           การศึกษานี้เป็นการวิจัยการออกแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ประสบการณ์และความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่านของครูและนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขนาดเล็ก 2) ออกแบบและพัฒนาต้นแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขนาดเล็ก 3) ศึกษาผลการใช้ต้นแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 1 คือครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จำนวน 387 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นจำนวน 2,847 คน กลุ่มตัวอย่างระยะที่ 3 ครูผู้สอนวิชาภาษาไทย จำนวน 4 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 80 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบระยะที่ 1 มี  16 ชิ้น ระยะที่ 2 จำนวน 2 ชิ้น ระยะที่ 3 จำนวน 2 ชิ้น สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) ครูและนักเรียนต้องการชุดฝึกที่เป็นรูปเล่มและมีเกมประกอบ 2) ต้นแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เกม สื่อ ใบกิจกรรม แบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบหลังเรียน มีทั้งหมด 9 กิจกรรม 3) ผลการใช้ต้นแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับคะแนน .01


 

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

อนุชา พิมศักดิ์, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาภาษาไทย คุณวุฒิการศึกษา ระดับปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย/ ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย/

References

ธนาภา งิ้วทอง. (2564). การประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้และการวิจัยอิงการออกแบบเพื่อพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครู. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญาวิทย์ แจ่มกระจ่าง. (2564). การพัฒนารูปการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านการอ่านและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

เยาวลักษณ์ ศิริรักษ์ และ อภิรักษ์ เจาะจง. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O - NET) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2565. กลุ่มงานนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2566). การวิจัยการออกแบบทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความรู้ (literacy). กรุงเทพมหานคร: สำนักราชบัณฑิตยสภา.

อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล. (2557). คู่มือการออกแบบบริการ. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กรุงเทพมหานคร.

Kolb, D.A. (2014). Experiential learning. Experience as the source of learning and development: FT press.

Hasso Plattner Institute of Design at Stanford. (2007). Design Thinking Process. Stanford.