A Tripartite Participatory Management Approach For Improving The Quality Of Accounting Practitioners Of Vocational College Office Of The Vocational Education Commission
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความต้องการของผู้ประกอบการต่อคุณภาพของนักปฏิบัติบัญชี 2. ศึกษาการบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคี เพื่อการยกระดับคุณภาพนักปฏิบัติบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3. พัฒนาและประเมินแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคี เพื่อยกระดับคุณภาพของนักปฏิบัติบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน รูปแบบวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 แบบสอบถาม ความต้องการของผู้ประกอบการต่อคุณภาพนักปฏิบัติบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ระยะ 2 แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเมินแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคี เพื่อการยกระดับคุณภาพนักปฏิบัติบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ระยะที่ 3 แบบสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ผลการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ประกอบการต่อคุณภาพของนักปฏิบัติบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลการบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคี เพื่อการยกระดับคุณภาพนักปฏิบัติบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3. ผลการวิเคราะห์พัฒนาและประเมินแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคี
ผลการวิจัย 1. ผู้ประกอบการมีความต้องการคุณภาพของนักปฏิบัติบัญชีในระดับมาก พิจารณารายด้านพบว่าผู้ประกอบการมีความต้องการในด้านคุณลักษณะอาชีพ (จรรยาบรรณ) ด้านทักษะการสื่อสาร ด้านความรู้และทักษะทางวิชาชีพ ด้านความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล ในระดับมากที่สุด และด้านการใช้เครื่องมือและเทคโนโลยี ในระดับมาก 2. การบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคีเพื่อการยกระดับคุณภาพนักปฏิบัติบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า 1) การมีส่วนร่วมในด้านการตัดสินใจ 2) ด้านการปฏิบัติ 3) ด้านผลประโยชน์ที่พึงจะได้ 4) ด้านการประเมิน และ 5) ด้านการวางแผน ส่งผลต่อด้านพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพบัญชี ด้านพัฒนาทักษะและประสบการณ์ทำงาน และด้านพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพนักปฏิบัติบัญชี 3. การพัฒนาและประเมินแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคี เพื่อการยกระดับคุณภาพนักปฏิบัติบัญชีของวิทยาลัยอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มสถานประกอบการ กลุ่มหน่วยงานคุมมาตรฐานการศึกษา ร่วมกันพัฒนาด้านการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพบัญชี ด้านการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ทำงาน และด้านการพัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพนักปฏิบัติบัญชี โดยผลการประเมิน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านความถูกต้อง รองลงมาคือ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นไปได้
Article Details
References
กษมา ยังส้มป่อย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กัญญาพัชร พงษ์ดี. (2559). กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคีในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนใน โรงเรียนพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ขวัญชนก แสงท่านั่ง. (2563). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม สำหรับสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (7), 153-168.
ฐาปณีย์ เสาหิน. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในระบบทวิภาคีของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญญาดิษฎีบัณฑิต สาขาการบริการหารศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
วชิน อ่อนอ้าย. (2558). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สนุ่น มีเพชร. (2563). ปัญหาด้านการบริหารการเรียนการสอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภา
อรชร ปราจันทร์ (2561). รูปแบบการบริหารเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของครูในสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12 (1), 156-169.
Best, D. L., Williams, J. E., Cloud, J. M., Davis, S. W., Robertson, L. S., Edwards, J. R., ... & Fowles, J. (1977). Development of sex-trait stereotypes among young children in the United States, England, and Ireland. Child Development, 1375-1384.
Campbell, J. P., & others. (1968). The Definition and Measurement of Performance in the Public Sector. American Political Science Review.
Carnoy, M. (1999). The family, flexible work and social cohesion at risk. Int'l Lab. Rev., 138: 411.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). HarperCollins.
Deming, W. E. (1993). The New Economics for Industry, Government, Education. MIT Press.
Denzin, N. K. (1978). The Research Act: A Theoretical Introduction to Sociological Methods (2nd ed.). McGraw-Hill.
Fayol, H. (1916). General and Industrial Management. Pitman.
Gulick, L., &Lyndall, Urwick. (1937). Paper on the Science of Administration. New York : Institutc of Public Administration.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2 (2), 94-60.
Smith, A., Courvisanos, J., Tuck, J., & McEachern, S. (2012). Building the Capacity to Innovate: The Role of Human Capital. Research Report. Australia: National Centre for Vacational Education Research (NCVER))
Sears, A. M. (1950). Administration and the Human Factor. McGraw-Hill.
Stufflebeam, D. L. (1990). Evaluating Educational Programs: The Four Dimensional Model. Kluwer Academic Publishers.