การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักมูลแพะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกทะเล ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

กัลย์สุดา ดวงศรีแก้ว
วันวิสาข์ ลิจ้วน

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยหมักมูลแพะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านโคกทะเล มีวัตถุประสงค์เพื่อทำปุ๋ยหมักจากมูลแพะ และศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของปุ๋ยหมักจากมูลแพะ โดยทำการหมักมูลแพะ 3 สูตร ดังนี้ สูตรที่ 1 มูลแพะ 6 กิโลกรัม แกลบเผา 2 กิโลกรัม ขี้เค้กอ้อย 2 กิโลกรัม กากน้ำตาล 0.5 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM 0.25 กิโลกรัม สูตรที่ 2 มูลแพะ 6 กิโลกรัม รำ 2 กิโลกรัม ขี้เค้กอ้อย 2 กิโลกรัม กากน้ำตาล 0.5 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM 0.25 กิโลกรัม และสูตรที่ 3 มูลแพะ 6 กิโลกรัม ขุยมะพร้าว 2 กิโลกรัม ขี้เค้กอ้อย 2 กิโลกรัม กากน้ำตาล 0.5 กิโลกรัม หัวเชื้อจุลินทรีย์ EM 0.25 กิโลกรัม ทำการหมักปุ๋ยโดยเทกองบนพื้นดินที่รองด้วยแผ่นพลาสติก คลุกเคล้าส่วนผสมให้เข้ากัน กระจายปุ๋ยให้ทั่วแผ่นรอง เป็นเวลา 2 เดือน ผลการศึกษา พบว่า ปุ๋ยหมักมูลแพะ สูตร 2 มีคุณสมบัติทางเคมี ได้แก่ ค่าอินทรียวัตถุ เท่ากับ 33.57 ไนโตรเจนทั้งหมด (Total N) เท่ากับ 1.53% ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ (P2O5) เท่ากับ 2.47% โพแทสเซียมที่ละลายน้ำ (K2O) เท่ากับ 1.83% สูงที่สุด เมื่อเทียบกับปุ๋ยหมักมูลแพะสูตร 1 และ 3 ดังนั้นปุ๋ยหมักมูลแพะสูตรที่ 2 จึงมีความเหมาะสมในการนำมาใช้เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้แก่พืชได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. กรุงเทพฯ: กรม

พัฒนาที่ดิน.

กลุ่มสารสนเทศและข้อมูลสถิติ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมปศุสัตว์. (2562). ข้อมูล

เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และแพะรายภาค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. สืบค้น 25 กันยายน 2563, แหล่งที่มา : http://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/340-report-thailand-livestock/reportservey2563/1460-2563-month.

ครองใจ โสมรักษ์. (2560). ผลของปุ๋ยหมักกากครามต่อการเจริญเจริญเติบโต และผลผลิตของผักคะน้า.

วารสารเกษตรพระวรุณ. 14(2) : 165 – 172.

ทัศนีย์ แก้วมรกฎ จำเป็น อ่อนทอง และอัจฉรา เพ็งหนู. (2556). องค์ประกอบและการปลดปล่อยธาตุอาหาร

ของเศษหอมแดง มูลแพะ และกระดูกโคเผาป่น. วารสารมหาวิยาลัยราชภัฏยะลา. 8(2): 130-145.

นัฎฐา ดำนา วัลวิภา สายแก้ว และอารักษ์ ธีรอำพน. 2560. อิทธิพลของชนิดปุ๋ยและระดับการพรางแสงต่อ

ผลผลิตและคุณภาพของไข่น้ำ [Wolffia arrhiza (L.) Wimm.]. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์.

(3): 60-64.

พัชรี สิริตระกูลศักดิ์ กาญแก้ว แซ่จ้าว สกุลการต์ สิมลา มงคล วงศ์สวัสดิ์ และสำเร็จ สีเครือดง. (2561). ผล

ของปุ๋ยหมักเติมอากาศต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของดาวเรือง. แก่นเกษตร. 46 ฉบับพิเศษ 1:

– 1216.

ภาณุเดชา กมลมานิทย์ และ พฤกษา หล้าวงษา. (2564). อิทธิพลของปุ๋ยหมักถ่านชีวภาพมูลแพะต่อการสะสม

คาร์บอนอินทรีย์ในดินและการสร้างเม็ดดิน. แก่นเกษตร 49 ฉบับที่ 5: 1194-1204.

ภิรมณ แสงมณี สุริยุ เสนาอินทร์ และชมัยพร เจริญพร. (2560). การเปรียบเทียบรูปแบบของปุ๋ยหมักจาก

ธูปฤาษี ต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของผักกว้างตุ้ง. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 2(2): 39 – 44.

ยงยุทธ โอสถสภา อรรถวิทย์ วงศมณีโรจน์ และชวลิต ฮงประยูร. (2551). ปุ๋ยเพื่อการเกษตรยั่งยืน. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย, 2563. สืบค้น 25 กันยายน 2563, แหล่งที่มา :

http://www.ocsb.go.th/upload/journal/fileupload/144-4003.pdf)

อภิชาติ หมั่นวิชา, ไพโรจน์ ศิลมั่น และ สมปอง สรวมศิร. (2562). ผลของชนิดปุ๋ยอินทรีย์ ต่อผลผลิต และ

องค์ประกอบทางเคมี ของหญ้าเนเปียร์ปากช่อง 1. แก่นเกษตร 47 ฉบับพิเศษ 2 : 701-706.

อานัฐ ตันโช. (2558). หลักการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงระดับอุตสาหกรรม. วารสารดินและปุ๋ย ปีที่ 37 เล่มที่

-4: 30-39.