ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการตนเองและคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

หทัยเรขา แสนมุข
สุดารัตน์ สารสว่าง
มีชัย ออสุวรรณ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการตนเองของครู 2) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการตนเองและคุณภาพชีวิตการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยาจำนวน 295 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากการคำนวณสูตรขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (1970) โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.812 ซึ่งผู้วิจัยได้รับแบบสอบถามคืนมาและเป็นแบบสอบถามที่สมบูรณ์ จำนวน 252 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’ Product Moment Correlation Coefficient)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการตนเองของครู ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การมีแรงจูงใจในตนเอง และต่ำที่สุดคือ การบริหารเวลา 2) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และต่ำที่สุดคือ ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการตนเองและคุณภาพชีวิตการทำงานของครู ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = .57 , p < .01)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ศรีทองสุก. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานกับความสุขในการทำงานโดยมีความเชื่ออำนาจในการควบคุมภายในเป็นตัวแปรกำกับ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กรกฎ แสงเกตุ. (2556). วัฒนธรรมองค์การคุณภาพชีวิตการทำงานของกำลังพลวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

กุสุมา พูลเฉลิม. (2557). พฤติกรรมการใช้เวลาว่างในที่ทํางานและสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน ที่พยากรณ์ความสุขในการทํางานของบุคลากร. วารสารจันทรเกษมสาร. 20 (39). 57-108.

จิตรา จันทราเกตุรวิ และ วริษฐา อ้นโต. (2565). แรงจูงใจและการเห็นคุณค่าในตนเองที่ส่งผลต่อการผลิตผลงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตปริมณฑล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 16 (1), 161-175.

จิราวรรณ เสนาลอย. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของครู โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุดรธานี เขต 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยสิทธิ์ สุวรรณน้อย. (2558). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการทหารอากาศกองบิน 21 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. เทพเนรมิตการพิมพ์.

ณัฏฉลดา รัตนคช. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรครูระดับประถมศึกษาในจังหวัดหนองคาย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตันหยง ชุนศิริทรัพย์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้บรรยากาศองค์การกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัทนิตพอยน์ จำกัด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิพย์ โอษฐงาม. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 14 (2), 217-226.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2546). การจัดการสมัยใหม (3 ed.). เซ็นทรัล เอ็กซเพรส จำกัด.

บัวงาม กลิ่นหอม. (2561). แรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. 1 (1), 49-57.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก, หน้า 1-23).

ภูมิภัทร สุวรรณศรี. (2560). ภาวะผู้นำเชิงวิถีเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนคาทอลิค สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เริงชัย หมื่นชนะ. (2538). จิตวิทยาธุรกิจ. (2, Ed.). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2566 – 2570. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.obec.go.th/

สุขวิทย์ บุญสุข. (2561). แรงจูงใจภายในและภายนอกที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การทำงานของพนักงาน Gen Y สถาบันเทคโนโลยีไทยญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร.

สุรีย์พร วิสุทธากรณ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากร: กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. ปทุมธานีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Berger, D. S. (2000). Policy Brief: Self-management Across the Curriculum: A Holistic Model for Student, Faculty, and Staff Development. Retrieved from https://www.researchgate. net/publication/242711223_Policy_Brief_Self-management_Across_the_ Curriculum _A_Holistic_Model_for_Student_Faculty_and_Staff_Development

Cascio, W. F. (1998). Managing human resource: Productivity, Quality of working lifeprofits. McGraw-Hill.

Hackman, J. R., & Sutte, L. J. (1998). Improving life at work: Behavior science approaches to Organizational change. Goodyear Publishing.

Hodgetts, R. M. (1993). Modern human relation at work. (5 ed.). Dryden Press.

House, E. F., & Cummings, T. G. (1985). Organization development and change. John Wiley and Sons.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitude. Archives Psychological. 3 (1), 42-48. https://psycnet.apa.org/record/1933-01885-001

McClelland, D. C. (1961). The achieving society.

O'Keefe, E. J., & Berger, D. S. (1999). Self-management for College Student. (2 ed.). Partridge Hill Publishers.

Trung, T. M. (2561). แรงจูงใจในการพัฒนาตนของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม พระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.