โมเดลการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

พงศ์สรณ์ บวรสุขวัฒน์
ชัยวิชิต เชียรชนะ
ศจีมาจ ณ วิเชียร

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย และ 2) สร้างโมเดลการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงพรรณา โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามความคิดเห็นในการศึกษาองค์ประกอบการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย ที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แนวคิด ทฤษฏีจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ได้ประเด็นคำถาม 51 ข้อ เพื่อสร้างแบบสอบถามความคิดเห็นการศึกษาองค์ประกอบการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย และนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก จำนวน 273 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย ที่ได้จากองค์ประกอบในขั้นตอนที่ 1 โดยนำไปเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก จำนวน 300 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
          สรุปผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย มี 4 องค์ประกอบ 51 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของตัวบ่งชี้ทั้งหมดได้ร้อยละ 69.837 2) โมเดลการเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนของครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ 1 ด้านการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ จำนวน 22 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการออกแบบสร้างสรรค์กิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 3 ด้านการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 4 ด้านการเชื่อมโยงองค์ความรู้ยุคใหม่ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้  ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการวิจัยไปใช้วางแผนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูผู้ช่วยให้มีความรู้ความสามารถตามองค์ประกอบที่ค้นพบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้อย่างเหมาะสมในยุคปัจจุบัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนกฤต อั้งน้อย. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูใหม่ในศตวรรษที่ 21 ตามแนวคิดโรงเรียนเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนวัฒน์ สุขเกษม และคณะ. (2564). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูผู้ช่วยในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย. 11 (1) 185-193.

นภาพร จ่าเมืองฮาม. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พัชราวลัย มีทรัพย์. (2022). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐาน. วารสารราชพฤกษ์์. 20 (2) 124-138.

วัทนวิภา บุตรดีสี. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2565). แนวทางการพัฒนาครูผู้ช่วยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: http://bpcd. vec.go.th.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2566-2580) ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.nscr. nesdc.go.th/master-plans/.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). การพัฒนากลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูง สำหรับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

Comrey, A., & Lee, H. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale, NJ: Erlbaum.

Fabrigar, L. R., & Wegener, D. T. (2012). Understanding Statistics: Exploratory factor analysis. Oxford University Press.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2006). Multivariate data analysis. (6th Edition). Pearson Education.

MacCallum, R. C. et.al. (1999). Evaluating the use of exploratory factor analysis in psychological research. American Psychological Association. 4 (3), 272-299.

Pefianco, Erlinda C. (2009). Quality Innovations for Teaching and Learning: The 4th World Teachers’ Day in Thailand and 12th UNESCO-APEID International Conference. Bangkok.