ช่องทางการรับรู้การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ ของผู้บริโภค พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ช่องทางการสื่อสารทางการตลาด และการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภค พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 2) ช่องทางการรับรู้การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภค พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก กําหนดขนาดกลุมตัวอยางโดยใชสูตรการคํานวณขนาดตัวอย่างเพื่อใชประมาณสัดสวนประชากรของ Cochran ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้ตัวอย่างจำนวน 301 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัย พบว่า
1) การรับรู้ช่องทางการสื่อสารทางการตลาด และการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภค พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ผู้บริโภครับรู้ผ่านช่องทางสื่อสารการตลาดประเภทออฟไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือสื่อโฆษณากลางแจ้ง (= 3.96, SD = 0.87) และสื่อหนังสือพิมพ์มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 2.43, SD = 1.20) ประเภทออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก Facebook มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.64, SD = 0.60) และ E-mail มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 2.87, SD = 1.20) และ 2) ช่องทางการรับรู้การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภค พื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า สื่อโฆษณากลางแจ้ง และสื่อหนังสือพิมพ์ มีอิทธิพลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ สามารถร่วมอธิบายความแปรปรวนของการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ ได้ร้อยละ 69 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Article Details
References
กัลยารัตน์ หัสโรค์. (2564). กลยุทธ์การตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จุฑามาศ อัครเดชา และบัญชา วงศ์เลิศคุณากร. (2560). การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อความสนใจ ซื้อบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่ม ธุรกิจและสังคมศาสตร์. 2 (2), 100-112.
นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2557). การสื่อสารการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พรรณภา สรสิทธิ. (2564). กลยุทธ์การตลาดแบบออฟไลน์ และออนไลน์กับการสนับสนุนจากภาครัฐที่ส่งผลต่อความสำเร็จทางการตลาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจและนวัตกรรมดิจิทัล. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มัลลิกา ตากล้า และทศพร มะหะหมัด. (2563). พฤติกรรมการเลือกซื้อเสื้อผ้าสําเร็จรูปของสุภาพสตรีทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 6 (1), 68-77.
สำนักงานสถิติจังหวัดสงขลา. (2566). สถิติจากโครงการสำมะโน/สำรวจของ สสช. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://songkhla.nso.go.th/
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2557). พฤติกรรมการบริโภคอาหารเสริมเพี่อสุขภาพของคนวัยทํางานใน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.
Schiffman, L. G. and Kanuk, L. L. (2007). Co nsumer Behavior. 9th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.