ผลกระทบของความรับผิดชอบต่อสังคม องค์ประกอบคณะกรรมการบริษัท และการเปิดเผยรายงานความยั่งยืนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

นิภาพร พิระภาค
ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันองค์การธุรกิจเริ่มให้ความสำคัญกับผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการดำเนินงานของกิจการ โดยกำหนดกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติตลอดจนการรักษาสภาพแวดล้อมและการดูแลสังคมและชุมชนควบคู่กัน การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของความรับผิดชอบต่อสังคม องค์ประกอบคณะกรรมการบริษัทและ การเปิดเผยรายงานความยั่งยืนที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งผู้วิจัยดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 272 บริษัท โดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรับผิดชอบต่อสังคมมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพผลการดำเนินงาน 2) องค์ประกอบคณะกรรมการบริษัทมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพผลการดำเนินงาน และ 3) การเปิดเผยรายงานความยั่งยืนมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพผล      การดำเนินงานที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลลัพธ์ที่ได้นำไปใช้เป็นแนวทางที่ผู้บริหารนำไปปรับใช้ใน    การบริหารงานและควบคุมการทำงานกำกับดูแลให้กิจการมีผลประกอบการที่ดีในระยะยาว เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ามีความยุติธรรมและความโปร่งใสภายในองค์กรเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันนำไปสู่ความเจริญเติบโตและเพิ่มมูลค่า และสะท้อนถึงความมีประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จีราภรณ์ พงศ์พันธุ์พัฒนะ. (2558). กลไกลการกำกับดูแลกิจการที่ดี และผลการดำเนินงานของกิจการ : บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 8 (1), 66-77.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2567). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

แห่งประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.set.or.th.

ธนพงศ์ วุ่นแสง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนกับมูลค่าราคาตลาดของหุ้น ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นราภรณ์ สุขอยู่ และ ดารารัตน์ โพธิ์ประจักษ์. (2558). การเปิดเผยข้อมูลความรับผิดชอบต่อสังคมที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร และกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นิธิภักดิ์ ปินตา. (2559). ผลกระทบของรายงานความยั่งยืนต่อผลการดำเนินงานขององค์กรสำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกลุ่มประเทศอาเซียน. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 2 (6), 112-126.

นิตยา ทัดเทียม และ พิมพิศา พรหมมา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์กับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15 (3), 183-195.

ปิยะณัฐ ถุนพุทธดม. (2561). ผลกระทบของกลไกการกำกับดูแลกิจการ คุณภาพการสอบบัญชีที่มี ต่อผล การดำเนินงานผ่านการบริหารกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

รังสรรค์ โนชัย. (2562). อิทธิพลของความแตกต่างในมิติของกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.วารสารบริหารธุรกิจและภาษา. 7 (2), 22-31.

รุ่งฟ้า พรหมบุตร. (2557). ขนาดและองค์ประกอบคณะกรรมการบริษัทกับนโยบายการจ่ายเงินปันผล : หลักฐานจากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

อรุณี ยศบุตร. (2563). องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทกับคุณภาพกําไร: หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่. 13 (1), 33-48.

Burns, N., & Grove, S. K. (1993). The practice of nursing research conduct, critique and utilization. (2nd ed.) W B Saunders, Philadelphia, Pennsylvania.

Cooke, T. E. (1989). Voluntary corporate disclosure by Swedish companies. Journal of International Financial Management & Accounting. 1 (2), 171-195.

Ferreira, M. A., & Matos, P. (2008). The colors of investors’ money: the role of institutional investors around the world. Journal of Financial Economics. 88 (3), 499-533.

Lajili, K., & Zéghal, D. (2005). A content analysis of risk management disclosures in Canadian annual reports. Canadian Journal of Administrative Sciences/Revue Canadienne des Sciences de Administration. 22 (2), 125-142.