พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบ่อพันขัน 2490 - 2567
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนบ่อพันขันระหว่างพุทธศักราช 2490 - 2567 ประกอบด้วยการศึกษาสภาพชุมชนบ่อพันขันก่อนการสร้างอ่างเก็บน้ำ ศึกษาผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำบ่อพันขัน และศึกษาวิธีการฟื้นฟูชุมชนบ่อพันขัน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสารตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์ภาคสนาม มีเครื่องมือในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ่อพันขันมีความเปลี่ยนแปลง 3 ช่วงเวลาสำคัญคือ 1) ยุคคนต้มเกลือแห่งบ่อพันขันพุทธศักราช 2490 - 2524 ซึ่งเกลือเป็นที่ต้องการของชุมชนต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นทรัพยากรสำคัญของสังคมแบบผลิตเพื่อยังชีพ 2) ยุคแห่งการสูญสลายของชุมชนบ่อพันขันพุทธศักราช 2524 – 2539 อันเป็นช่วงเวลาที่ชุมชนต้องเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องจากนโยบายรัฐที่เปลี่ยนพื้นที่การผลิตเกลือให้กลายเป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรกรรม การพัฒนาส่งผลให้วิถีชีวิตของผู้คนต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายมากขึ้นจึงเกิดคลื่นการเคลื่อนย้ายจากหมู่บ้านไปสู่เมืองใหญ่ และ 3) ยุคแห่งการฟื้นฟูบ่อพันขันพุทธศักราช 2539 – 2567 ซึ่งผู้คนพยายามฟื้นฟูความเป็นชุมชนให้กลับคืนมาด้วยการฟื้นความศรัทธาในเจ้าปู่ผ่านที่เป็นอารักษ์ในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่าชีวิตของชาวบ่อพันขันเป็นการดิ้นรนอย่างยืดหยุ่นเพื่อความอยู่รอด โดยปรับตัวตามพลังหลักสามประการ คือ พลังธรรมชาติ พลังจากรัฐ และพลังจากทุนนิยม ในยุคการผลิตเกลือก่อนปี 2524 ผู้คนพึ่งพาอาศัยกันเพื่อรับมือกับธรรมชาติ เมื่อสร้างอ่างเก็บน้ำ พลังจากรัฐและทุนนิยมทำให้หลายครัวเรือนต้องย้ายไปทำงานที่อื่น และในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ผู้คนกลับมาพึ่งพาพลังของท้องถิ่นและฟื้นฟูชุมชนผ่านความเชื่อและการช่วยเหลือกัน การปรับตัวของชาวบ่อพันขันจึงเน้นความยืดหยุ่นและการสร้างพลังชุมชน
Article Details
References
แคทเธอรีน คลาร์ก. (2551). การให้เวลาแก่ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและชุมชน. ออกซ์ฟอร์ด: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด.
ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. (2554). แนวคิดและแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: อินทนิล.
ไทยโรจน์ พวงมณี. (2024). พื้นที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมบ้านอาฮี ตำบลอาฮีอำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย กับแนวทางการจัดการท่องเที่ยวชุมชนสู่ความยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. 12 (1), 95–120.
ปริญ รสจันทร์. (2567). บ่อพันขัน : มรดกจากบรรพกาล. ทางอีศาน. 12 (142), 63 – 74.
ปริญ รสจันทร์. (2567). สยามกับการปกครองหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงพุทธศักราช 2318–2441. วารสารวิจัยและพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง. 3 (1), 1-7.
รัชนีกร ไวกล้า. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์ประเพณีผู้ไทย. วารสารการจัดการศิลปะ. 3 (1), 53-68
ศรีศักร วัลลิโภดม และ วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2557). เรียนรู้จากแผนที่เพื่อรู้จักท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.
สีลาภรณ์ บัวสาย. (2547). พลังท้องถิ่น: บทสังเคราะห์งานวิจัยด้านชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อรรถจักร สัตตยานุรักษ์. (2559). ลืมตาอ้าปากจากชาวนาสู่ผู้ประกอบการ. กรุงเทพมหานคร: มติชน.