การบริหารจัดการองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร

Main Article Content

ภูมิวรินทร์ ชุณหะวงษ์วริศ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารจัดการองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร 2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร และ 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 220 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
           ผลการศึกษาพบว่า 1)ระดับการบริหารจัดการองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 2)การเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรโดยสรุปพบว่า 2.1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำองค์การ พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านแบบแลกเปลี่ยนในเรื่องประสบการณ์ทำงาน ด้านแบบปล่อยเสรีในเรื่องเพศและประสบการณ์ทำงาน 2.2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ พบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการมีส่วนร่วมในเรื่องระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ด้านการมีเอกภาพของบุคลากรในเรื่องเพศ และด้านพันธกิจในเรื่องเพศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการองค์การที่ พบว่า 3.1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำองค์การในด้านการเปลี่ยนแปลง และด้านแบบปล่อยเสรี และ 3.2) ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การในด้านความรับผิดชอบ และด้านความคุ้มค่า ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anegasukha, S. (2021). The Combination of Quantitative and Qualitative Methods to Mixed Methods Research. Journal of Education Studies, Burapha University. 3 (1), 1-16.

Chaiya, M. and Chirinang, P. (2023). Human Resource Management under Transformation toward Digital Age. Journal of Administrative and Management Innovation. 11 (1), 104-115.

Kirine, K., Charoenarpornwattana, P., and Leeniwa., J., (2023). Digital Transformation of Human Resource Development. Journal of Information and Learning. 34 (3), 154-165.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607–610.

Liphancharoen, S. (2022). Human Resource Management (2nd Edition). Ubon Ratchathani: Wittaya Printing 1973 Limited Partnership.

Manmee, T. (2022). Modern Human Resource Management. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Office of the National Digital Economy and Society Commission. (2018). National Policy and Plan on Digital Development for Economic and Social Development (B.E.2061-2580). Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society.

Piyapornsiri, W. (2020). Human Resource Development in the Digital Economy Era. Bangkok: Chulalongkorn University Publishing.

Pongpan, P., Khamyang, P., Pawanna, S., Saiyarat, K., and Seedee, R. (2023). Digital HR Technology and Working Efficiency of Human Resource Officers. Journal of Social Science Panyapat. 4 (4), 27-39.

Ruengkun, J. (2020). Human Resource Management (2nd edition). Nonthaburi: Nation High 1954 Company Limited.

Srisa-ad, B. (2020). Preliminary Research (10th Edition). Bangkok: Suwiriyasarn.

Wattanapong, A. (2020). Digital Economy: Opportunities and Challenges.Bangkok University Printing House.

Woraphatthirakkul, P. (2022). Organization Administration Influencing Personnel Participation of the National Broadcasting and Telecommunication Commission (NBTC). Journal of Educational Innovation and Research. 6 (3), 809-822.