การพัฒนาสมรรถนะของครูสอนว่ายน้ำ ทีมผู้ฝึกสอนว่ายน้ำครูเบิร์ดภาคใต้

Main Article Content

ปภัสสร รักษาชนม์
นุกูล ช้นฟัก
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งเป็นวิจัยที่มีการเก็บข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลทั้งที่เป็นเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่คาดหวังต่อสมรรถนะของครูสอนว่ายน้ำ ทีมผู้ฝึกสอนว่ายน้ำครูเบิร์ดภาคใต้ 2) ศึกษาความจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนว่ายน้ำ ทีมผู้ฝึกสอนว่ายน้ำครูเบิร์ดภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในเชิงปริมาณในขั้นตอนนี้คือ ผู้ปกครองของนักเรียนในสถาบันผู้ฝึกสอนว่ายน้ำ ครูเบิร์ดภาคใต้จำนวน 286 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า  5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .856 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีการจัดลำดับความต้องการจำเป็น Modified Priority Needs Index (PNImodified)
           ผลการวิจัย พบว่า
           1. สภาพปัจจุบันในการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนว่ายน้ำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 7 ด้าน โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ด้านนวัตกรรมและการวิจัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านตนเองและวิชาชีพ ด้านการพัฒนาผู้เรียน ด้านการสื่อสาร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามลำดับ
           2. สภาพที่คาดหวังในการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนว่ายน้ำ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 7 ด้าน โดยสามารถเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านตนเองและวิชาชีพ รองลงมา ด้านการพัฒนาผู้เรียน รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านนวัตกรรมและการวิจัย รองลงมาคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการสื่อสาร ตามลำดับ
           3. ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะของครูสอนว่ายน้ำ ทีมผู้ฝึกสอนว่ายน้ำ ครูเบิร์ดภาคใต้ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมา การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน ตนเองและวิชาชีพ การสื่อสาร และด้านนวัตกรรมและการวิจัย ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.moe.go.th.

กานต์ อัมพานนท์. (2560). ความเป็นครู. คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

เนตรนภา หยูมาก. (2563). ลักษณะของครูที่นักเรียนพึงประสงค์ โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา โรงเรียนตะเครียะวิทยาคม.

พจมาลย์ สกลเกียรติ. (2562). การศึกษาคุณลักษณะของครูที่พึงประสงค์ ตามทัศนะของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10. ณ ห้องประชุม อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

วิชัย ตันศิริ. (2560). การพัฒนาการเมืองที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พี.เพรส จำกัด.

สถาบันผู้ฝึกสอนว่ายน้ำ ครูเบิร์ดภาคใต้. (2566). ฐานข้อมูลสารสนเทศ ปี พ.ศ. 2566. สถาบันผู้ฝึกสอนว่ายน้ำ ครูเบิร์ดภาคใต้ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

เสาวลักษณ์ ประมาน และคณะ. (2565). สมรรถนะครูพลศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 9 (1), 153-164.

อัสรี สะอีดี, สิทธิศักดิ์ บุญหาญ และ จิตรัตดา ธรรมเทศ. (2562). สมรรถนะครูพลศึกษาในศตวรรษที่ 2. e-Journal of Education Studies, Burapha University.1 (4), 20-21.