รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความรักที่มีต่อแบรนด์ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Main Article Content

สุพัตรา กันนุช
มลฤดี กี่เอี่ยน
ไพโรจน์ บุตรชีวัน

บทคัดย่อ

          การพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต (Soft Skills) ที่อยู่บนพื้นฐานของความรักที่มีต่อแบรนด์ของนักศึกษา ในระดับหลักสูตร จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อการพลิกโฉมของสถาบันอุดมศึกษา ที่ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรมในการบริหารหลักสูตรและพัฒนานักศึกษารูปแบบใหม่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความรักที่มีต่อแบรนด์หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบฯ กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเชิงสาเหตุในรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความรักที่มีต่อแบรนด์ฯ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้เทคนิคศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาและศิษย์เก่า จำนวน 375 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล ผลการวิจัยพบว่า1. ผลการพัฒนารูปแบบฯ จำแนกได้ 5 ตัวแปร ได้แก่ การเป็นแบรนด์หลักสูตรบัญชีบัณฑิตที่แท้จริง การถ่ายโอนบุคลิกภาพแบรนด์หลักสูตรฯ ความประทับใจในหลักสูตรฯ การเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของวิชาชีพนักบัญชี และความรักที่มีต่อแบรนด์หลักสูตรบัญชีบัณฑิต 2. ผลการตรวจสอบรูปแบบฯ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า CMIN = 208.765, df = 210, p = 0.511, CMIN/df = 0.99, SRMR = 0.02, RMSEA = 0.00, GFI = 0.96, AGFI = 0.93, CFI = 1.00, Hoelter (.05) =439 3. การเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของวิชาชีพนักบัญชี ส่งอิทธิพลทางตรงมากที่สุด (0.76) และส่งอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุด (0.61) ผ่านความประทับใจในหลักสูตรฯ และความประทับใจในหลักสูตรฯ ส่งอิทธิพลรวมมากที่สุด (0.95) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .001 และสามารถอธิบายความแปรปรวนของความรักที่มีต่อแบรนด์หลักสูตรฯ ได้ร้อยละ 79 
           รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความรักที่มีต่อแบรนด์หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ATIJL Model) มี 5 องค์ประกอบ และจำแนกได้ 25 คุณลักษณะ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ สามารถอธิบายความแปรปรวนของความรักที่มีต่อแบรนด์หลักสูตรฯ ได้ร้อยละ 79 ซึ่งสอดคล้องกับการสร้างทักษะการใช้ชีวิตและการทำงาน (Soft Skills) เพื่อเป็นบัณฑิตนักบัญชีมืออาชีพในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

คณะกรรมการบริหารหลักสูตรบัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2565). หลักสูตรบัญชีบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2565 (มคอ. 2). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://course.pnru.ac.th/files/NewWeb/Dan/Course/66/04/006.pdf

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 4 (2), 71-102.

ชาญชัย พรมมิ. (2565). โมเดลสมการโครงสร้างของความรักในตราสินค้าต่อความภักดีต่อตราสินค้าและการบอกต่อแบบปากต่อปากของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์. 39 (1), 136-162.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2560). เทคนิคการสร้างเครื่องมือวิจัย : แนวทางการนำไปใช้อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

ณรงค์ฤทธิ์ ประสานตรี และไพโรจน์ บุตรชีวัน. (2564). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุการสะท้อนคุณค่าแห่งแรงบันดาลใจจากการบริหารหลักสูตรธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 4 (2), 105-126.

ต้นแก้ว ดามัง (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบทักษะด้าน Soft Skills ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 38. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: http://202.29.52.112/dspace/bitstream/123456789/137/1/63551140111.pdf

นงรัตน์ อิสโร. (2564). พระบรมราโชบายด้านการศึกษากับภารกิจของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น. วารสารทหารพัฒนา. 45 (2), 53-63.

ปกรณ์ โปรยรุ่งโรจน์ (2564). ปัจจัยด้านจรณทักษะ (Soft Skill) ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1462

ปิยชาติ อิสรภักดี. (2561). Branding 4.0. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2564). การดำเนินงานโครงการพลิกโฉมด้านการผลิตและพัฒนาครูในพื้นที่และท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. (2566). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รักติบูล สิทธิลภ (2566). ทักษะการทำงานที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/5115/1/TP% 20 HOM.022%202566.pdf

รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ. (2564). การสำรวจ Soft Skills ที่จำเป็นของสถานประกอบการในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 15 (1), 59-69.

วุฒิ สุขเจริญ. (2561). วิจัยการตลาด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วีรพงษ์ พวงเล็ก, นริศรา พึ่งโพธิ์สภ และดุษฎี โยเหล่า. (2561). วิธีการสร้างแบรนด์และผลของการสร้าง

แบรนด์ ภายในองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา. 10 (1), 104-125.

อรพรรณ คงมาลัย และอัญณิฐา ดิษฐานนท์. (2561). เทคนิคการวิจัยด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัญชนา กัลยาเรือน, นิรมล พลแพงขวา และ ขวัญธิดา หลานเศรษฐา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินในเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคนิคสกลนคร สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. รายงานการประชุมวิชาการ หาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13, 1617-1627.

Manthiou, et.al. (2018). The impact of brand authenticity on building brand love: An investigation of impression in memory and lifestyle-congruence. International Journal of Hospitality Management, 75, 38-47. https://doi.org/10.1016/j.ijhm.2018.03.005

Imbriale, R. (2018). Motivational Marketing: How to Effectively Motivate Your Prospects to Buy Now, Buy More, and Tell Their Friends Too! (8th ed.). New Jersey: John Wiley & Sons, Inc.