การวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าเกษตรไทยในยุคโควิด-19

Main Article Content

กมลรัตน์ ถิระพงษ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การส่งออกสินค้าเกษตรของไทยและนโยบายที่เกี่ยวข้องภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) วิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของสินค้าเกษตรไทยในประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาใช้ข้อมูลการส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญตามพิกัดศุลกากร (HS code) โดยพิจารณาสินค้าเกษตรที่ทำการส่งออกไปยังประเทศคู่ค้า ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการกรมศุลกากรร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและแหล่งข้อมูลอื่นๆ เป็นข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2565 เมื่อทำการวิเคราะห์ความสามารถในการค้าและการแข่งขันสินค้าเกษตรของไทยกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ จีน และสหรัฐอเมริกา จากผลการศึกษาของทั้ง 2 ประเทศพบว่า ประเทศไทยมีสินค้าที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ในทั้ง 2 ประเทศ จำนวณ 5 ชนิดสินค้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมโม่สีเมล็ดธัญพืช มอลต์ สตาร์ช อินูลิน และกลูเทนจากข้าวสาลี (พิกัด 11) น้ำตาลและขนมทำจากน้ำตาล (พิกัด 17) ของปรุงแต่งจากธัญพืช แป้ง สตาร์ช หรือนม ผลิตภัณฑ์อาหารจำพวกเพลสทรี (พิกัด 19) และเครื่องดื่ม สุรา น้ำส้มสายชู (พิกัด 22) และยางธรรมชาติ (พิกัด 40.01) ในส่วนของสินค้าที่ประเทศไทยมีความอ่อนไหวในทั้ง 2 ตลาด มีจำนวน 1 ชนิดสินค้า คือ ยางสังเคราะห์และแฟกติชอื่นๆ (พิกัด 4002.99) และทางด้านของการดำเนินการมาตรการช่วยเหลือเมื่อมีการระบาดของโรค โควิด-19 พบว่ามีการดำเนินการทั้งมาตรการด้านการผลิตและการตลาดเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ประกอบการให้สามารถรอดพ้นจากวิกฤตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2566). ผลการศึกษาศักยภาพการส่งออกสินค้าของไทย. สืบค้นจาก https://tpso.go.th/news/2312-0000000014.

กวีพจน์ สัตตวัฒนานนท์ และสารี วรวิสุทธิ์สารกุล. (2562). ศักยภาพการแข่งขันรายกลุ่มสินค้า: กรณีศึกษาการค้าระหว่างไทย สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ, 10(19), 80-100.

คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2564). ทิศทางการขับเคลื่อนสินค้าเกษตร 5 คลัสเตอร์. สืบค้นจาก https://www.eeco.or.th/web-upload/filecenter/eec-development-plan/action2.pdf.

ชัยวัช โชวเจริญสุข. (2563). วิกฤตภัยแล้ง: ผลกระทบต่อภาคเกษตรและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/getmedia/92edeaa6-cb55-45da-8a43-37cd0121ecd4/RI_Drought_200207_TH.pdf.aspx.

ธนกานต์ แก้วสลุด. (2562). การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรของไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(4), 206-214.

ประกาย ธีระวัฒนากุล. (2564). ถอดบทเรียนจากวิกฤตโควิด-19 สู่โอกาสในการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก. สืบค้นจาก https://www.thailandfuture.org/post/lessonsfromthecrisis-clubhouseseries-localeconomy.

ภัคจิรา ทวีกาญจน์. (2562). การวิเคราะห์ศักยภาพทางการแข่งขันน้ำตาลทรายของไทยในตลาดอาเซียน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 15(2), 72-80.

เมธาพร กิ่งสะกุน. (2562). การวิเคราะห์ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบการส่งออกลำไย ทุเรียน มังคุดสดของไทยไปในตลาดจีน. (เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2563 และแนวโน้มปี 2564. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/bappdata/files/Outlook%202563%20-2564%20(ฉบับสมบูรณ์).pdf.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2566). สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สืบค้นจาก https://www.oae.go.th/view/1/รายละเอียดข่าว/ข่าว%20สศก./42449/TH-TH.

อันติมา แสงสุพรรณ. (2566). การศึกษาศักยภาพการส่งออกทุเรียนไทย ภายใต้สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

Balassa, B., & Noland, M. (1989). The changing comparative advantage of Japan and the United States. Journal of the Japanese and International Economies, 3(2), 174-188.