การศึกษาอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึงแบบสองหางสำหรับภารกิจฝึกบิน

Main Article Content

อนุวัตร จิรวัฒนพาณิช
วีรวัฒน์ อินทรทัต
ธวัชชัย จันทร์ทอง

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ออกแบบ และสร้างอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึงแบบสองหางสำหรับภารกิจฝึกบิน พบว่าอากาศยานไร้คนขับเป็นชนิดปีกตรึงแบบสองหางขับเคลื่อนด้วยกำลังใบพัดมีค่า Aspect ratio (AR) เหมาะสมที่สุดปะมาณ 6.7 โดยมีปีกยาว 1 เมตร และปีกคอร์ดยาว 0.15 เมตร มีพื้นที่ 0.15 ตารางเมตร แพนอากาศแบบด้านล่างแบนราบและด้านบนโค้งเว้ามีจุดยอดของแพนอากาศเท่ากับ 0.021 เมตร ลำตัวมีลักษณะเป็นทรงกระสวยมีขนาดกว้าง 0.07 เมตร ยาว 0.35 เมตร และ สูง 0.13 เมตร ซึ่งเหมาะสมตามหลักอากาศพลศาสตร์โดยความแข็งแรงและน้ำหนักเบา การออกแบบพวงหางของอากาศยานโดยกระโดงหางหรือหางดิ่งมีพื้นที่ 0.0138 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 9.20 ของพื้นที่ปีกทั้งหมด ในส่วนแพนหางระดับและแพนหางยกมีพื้นที่รวม 0.0480 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 32 ของพื้นที่ปีกทั้งหมด และแพนหางยกมีพื้นที่ 0.0180 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 37.50 ของพื้นที่แพนหาง เมื่อทำการทดสอบภารกิจการบินตามที่กำหนดของอากาศยานไร้คนขับชนิดปีกตรึงแบบสองหางที่ได้สร้างขึ้นพบว่า ระยะทางสำหรับการ Take off ประมาณ 5 เมตร อากาศยานมีความคล่องตัวดีการไต่ระดับ Ascent ได้ดีมาก บินเป็นแนวเส้นตรง บินเป็นวงกลมได้ง่าย เมื่อทดสอบเพิ่มความเร็วประมาณร้อยละ 50 ของอัตราความเร็วทั้งหมด อากาศยานสามารถทรงตัวได้ดี มีแรงยกสูง บินได้นิ่ง คล่องตัวดี ไม่มีการส่าย ส่วนการไต่ระดับลงมาอัตราการร่อนดีมาก ความคล่องตัวดี และระยะทางสำหรับการ Landing ประมาณ 10 เมตร ผลการศึกษาอากาศยานสามารถสร้างได้ง่าย ควบคุมการบินได้ง่าย มีเสถียรภาพในการบินสูง มีความคล่องตัว สามารถทำความเร็วประมาณ 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งแนวทางในการผลิตอากาศยานไร้คนขับในราคาประหยัดสำหรับภารกิจฝึกบิน สร้างสื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับอากาศให้กับนักเรียนและสำหรับบุคคลทั่วไปได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติศักดิ์ ศรีกลาง. (2558). อากาศยานไร้คนขับกับงานโฟโตแกรมเมตรี. กรุงเทพฯ: โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ทหาร.

ธราวุฒิ บุญเหลือ. (2557). การประยุกต์ใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) เพื่อจัดทำรูปถ่ายทางอากาศ กรณีศึกษาพื้นที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตขามเรียง. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 63, 55-68.

ธราวุฒิ บุญเหลือ. (2561). การประยุกต์ใช้เครื่องบินบังคับอัตโนมัติ เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบจำลองสารสนเทศ อาคารสำหรับงานสถาปัตยกรรมผังเมือง กรณีศึกษา อ.ธาตุพนม จ.นครพนม. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล. 28, 137-148.

ธีระพงษ์ นาชอน. (2551). รีโมทควบคุมมด้วยสัญญาณวิทยุ. โครงงานปริญญาตรีภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วสวัตติ์ เสาวดี, สมประสงค์ สาวจู และชวิน จันทรเสนาวงศ์. (2552). การคำนวณค่าสัมประสิทธิ์ของแพนอากาศสำหรับแบบจำลองไดนามิกสตอลโดยใช้ CFD. การประชมุวิชาการเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 (หน้า 68-74). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรคง มีกล้า และสมชนก เทียมเทียบรัตน . (2558). มาตรฐานอากาศยานไร้นักบินกับการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ 6(3), 30-38.

วาสุกรี แซ่เตีย และคณะ (2557). การพัฒนาอากาศยานไร้นักบิน (UAV) เพื่อการสำรวจและจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อติดตามและประเมินสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกของประเทศไทย ปี 2556 . การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 19. 2974-2980.

ศิวา แก้วปลั่ง. (2561). การประเมินการใช้ภาพถ่ายทางอากาศจากอากาศยานไร้คนขับสำหรับการประมาณค่าชีวมวลเหนือพื้นดินของต้นหม่อน. วารสารแก่นเกษตร. 46(1), 1-7.

สมควร รักดี. (2558). การพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลในระบบการป้องกันภัยทางอากาศของหน่วยต่อสู้อากาศยานกองทัพอากาศเพื่อความพร้อมสำหรับการเป็นกองทัพอากาศชั้นนำในภูมิภาค. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

อัศวโกวิท พึ่งสุข และคณะ. (2561). การประมาณค่าความสูงของไม้ยางนาด้วยข้อมูล DTM และ DSM จากอากาศยานไร้คนขับ. วารสารรสมาคมสำรวจข้อมูลระยะไกลและสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย. 19(1), 103-118.

David Lednicer. (2010). The Incompressible Guide to Airfoil Usage [On-line]. Available: http://m-selig.ae.illinois.edu/ads/aircraft.html.

Fahlstrom, P. and Gleason, T. (2012). Introduction to UAV System. West Sussex: John Wiley and Son.

Kaneko, R., et al. (2015). Application of unmanned aerial vehicle measurement to estimate quantity of forest biomass. Internet Journal for Society for Social Management Systems, 10(1), 2-9.