การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ที่สะท้อนถึงความดั้งเดิมของโนรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบและแนวคิดหลังการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากความดั้งเดิมของโนรา เนื่องจากปัจจุบันความดั้งเดิมของโนราได้อันตรธานหายไปตามยุคสมัย งานวิจัยชิ้นนี้เป็นทั้งงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 20 คน คัดเลือกจากความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่มีความเกี่ยวข้องกับโนรา ได้แก่ ผู้สืบทอดโนราจากบรรพบุรุษ จำนวน 8 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแสดง จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านดนตรี จำนวน 2 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแต่งกาย จำนวน 4 คน และผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุปกรณ์ประกอบฉากและแสง จำนวน 2 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโนรา การสัมภาษณ์ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ การสังเกตการณ์ เกณฑ์มาตรฐานศิลปินรวมถึงประสบการณ์ของผู้วิจัย โดยวิเคราะห์ข้อมูลผ่าน 8 องค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ ได้แก่ การออกแบบบท การออกแบบลีลา การคัดเลือกนักแสดง การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง การออกแบบเสียง การออกแบบเครื่องแต่งกาย การออกแบบพื้นที่การแสดงและการออกแบบแสง
ผลการศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยได้นำวัตถุประสงค์ในการหารูปแบบจาก 8 องค์ประกอบนี้ มาสร้างสรรค์เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวคิดหลังการสร้างสรรค์ ได้แก่ การคำนึงถึงความดั้งเดิมของโนรา การคำนึงถึงทฤษฎีทางทัศนศิลป์ การคำนึงถึงการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างงานนาฏยศิลป์ การคำนึงถึงพื้นฐานในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยอนุรักษ์และการคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ เพื่อคงไว้ซึ่งรูปแบบของโนราดั้งเดิมและเพื่อเป็นประโยชน์ในการต่อยอดองค์ความรู้ควรคำนึงถึงความดั้งเดิมของโนราในทุกสายตระกูลด้วย สำหรับผู้ที่จะนำศิลปะการแสดงโนราไปพัฒนาให้เกิดเป็นนาฏยศิลป์สร้างสรรค์ต่อไป
Article Details
References
ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2557). นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์ (นาฏยวิจิตร). ศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. 9 (2), 1-30.
นราพงษ์ จรัสศรี. (2548). ประวัตินาฏยศิลป์ตะวันตก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
Cohan, R. (1986). 10 The Dance Workshop : A Guide to the Fundamentals of Movement. New York: Simon & Schuster.
Hopgood, J. (2016). Dance production: design and technology. New York: Focal Press.
นพมาส แววหงส์. (2558). ปริทัศน์ศิลปะการละคร. ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฤทธิรงค์ จิวากานนท์. (2553). ปริทัศน์ศิลปะการละคร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธรากร จันทนะสาโร. (2557). นาฏยศิลป์จากแนวคิดไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณพัชร์ เกษประยูร. (2563). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากความไม่สมบูรณ์ในกระบวนการคัดเลือกศิลปินระดับชาติทางด้านนาฏยศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ภัคคพร พิมสาร. (2565). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากนิทรรศการผลงานของนราพงษ์ จรัสศรีศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ศิลปกรรมศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จินตนา อนุวัฒน์. การออกแบบอุปกรณ์การแสดง. สัมภาษณ์, 4 พฤศจิกายน 2566
จิรายุทธ พนมรักษ์. แนวคิดการคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์. สัมภาษณ์, 29 ธันวาคม 2566
ชัชวาลย์ นิพันธารักษ์. แนวคิดการคำนึงถึงความดั้งเดิมของโนรา. สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2566
ธำมรงค์ บุญราช. แนวคิดการคำนึงพื้นฐานในการสร้างงานนาฏยศิลป์ไทยอนุรักษ์. สัมภาษณ์, 26 พฤศจิกายน 2566
นราพงษ์ จรัสศรี. การออกแบบลีลานาฏยศิลป์. สัมภาษณ์, 22 กันยายน 2566
การออกแบบบทการแสดง. สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2566
การออกแบบลีลานาฏยศิลป์. สัมภาษณ์, 19 ตุลาคม 2566
การออกแบบพื้นที่การแสดง. สัมภาษณ์, 30 ตุลาคม 2566
การออกแบบแสง. สัมภาษณ์, 22 ตุลาคม 2566
แนวคิดการคำนึงถึงทฤษฎีทางทัศนศิลป์. สัมภาษณ์, 18 ตุลาคม 2566
นัฐวุฒิ แซลิ้ม. การออกแบบดนตรีและเสียงประกอบการแสดง. สัมภาษณ์, 9 ตุลาคม 2566
วิรสา โรจน์วรพร. การออกแบบการคัดเลือกนักแสดง. สัมภาษณ์, 26 ตุลาคม 2566
แนวคิดการคำนึงการใช้สัญลักษณ์ในการสร้างงานนาฏยศิลป์. สัมภาษณ์, 29 พฤศจิกายน2566
สุพจน์ จูกลิ่น. การออกแบบลีลานาฏยศิลป์. สัมภาษณ์, 19 พฤศจิกายน 2566
อภิศักดิ์ ชโยฬาร. การออกแบบการคัดเลือกนักแสดง. สัมภาษณ์, 14 พฤศจิกายน 2566