รูปแบบการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดอุดรธานี 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาข้อมูลด้านเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แล้ววิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 37 รูป/คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน พบว่า มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (2) มีกิจกรรมที่นำไปสู่กระบวนการคิดเพื่อการแก้ไขปัญหาในชุมชน (3) มีการให้บริการที่ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้สารสนเทศให้แก่ประชาชน (4) เป็นแหล่งการเรียนรู้ศิลปะจารีตประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชน (5) เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนที่มีความรื่นรมย์ (6) สร้างเครือข่ายแห่งการเรียนรู้และศูนย์การเรียนรู้เสมือนจริง 2) การพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดอุดรธานี พบว่า เจ้าอาวาสถือว่ามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวัด 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการปกครอง (2) ด้านการศาสนศึกษา (3) ด้านการเผยแผ่ (4) การสาธารณูปการ (5) ด้านการศึกษาสงเคราะห์ (6) ด้านการสาธารณสงเคราะห์ 3) รูปแบบการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชนในจังหวัดอุดรธานี รูปแบบที่ 1 ศูนย์ศึกษาตลอดชีวิต ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรมี การศึกษาที่สูง ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรมีความประพฤติที่ดีงาม ส่งเสริมให้ปราชญ์ชาวบ้านได้แสดง ศักยภาพ ส่งเสริมให้ปราชญ์ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน รูปแบบที่ 2 ศูนย์กิจกรรมสร้าง เสริมปัญญา ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรและประชาชนพัฒนาตนเอง ตามหลักศีล สมาธิ และปัญญา รูปแบบที่ 3 ศูนย์บริการสารสนเทศ พัฒนาสื่อด้านพระพุทธศาสนา และชุมชนออกเผยแผ่ อบรมพระภิกษุสามเณรและประชาชนในการใช้สื่อที่ถูกต้องด้านพระพุทธศาสนา รูปแบบที่ 4 ศูนย์เรียนรู้ ศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรและประชาชนเข้าใจและร่วมสืบสานศิลปวัฒนธรรม ท้องถิ่น จัดกิจกรรมสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น จัดกิจกรรมวันสำคัญทางด้านพระพุทธศาสนาเป็นประจำสม่ำเสมอ รูปแบบที่ 5 ศูนย์พัฒนาชีวิตจิตใจ จัดห้องสมุดชุมชนภายในวัด รวบรวมหนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและชุมชน จัดมุมอ่านหนังสือ จัดพิพิธภัณฑ์ที่สะท้อนวิถีชีวิตของชุมชน รูปแบบที่ 6 พัฒนาเครือข่ายศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชน ได้แก่ วัด ชุมชน ชาวบ้าน และหน่วยงานราชการประสานงานกันจัดแหล่งการเรียนรู้ภายในวัด ชุมชน วัด ชาวบ้าน และ หน่วยงานราชการประสานงานกันจัดแหล่งการเรียนรู้ในชุมชน
Article Details
References
ชัย เรืองศิลป์. (2560). ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ พ.ศ. 2352-2453 แง่มุมทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อมร, ม.ป.ท.
โชติ กัลยาณมิตร. (1996). สถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระปรัชญ์กรณ์ ชุตินฺธโร (วิยาสิงห์). (2566). บทบาทของการบริหารวัดในฐานะแหล่งเรียนรู้ชุมชนของพระครูอุตปธรรมวรกุล วัดบ้านตะเคียน ตำบลสำโรงทาบ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดวรัญญู อคฺควชิโร (ยอดเพ็ชร). (2559). พัฒนาการบริหารจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางชุมชน ในยุคโลกาภิวัตน์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาเสถียร ถาวรธมฺโม (เกษาชาติ). (2565). รูปแบบการพัฒนาวัดตามหลัก 5 ส ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชสุทธิญาณมงคล (จรัล ฐิตธัมโม). (2556). การบริหารงานวัด. สิงห์บุรี: วัดอัมพวัน.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมพระยาริศรานุวัตติวงศ์ และพระยาอนุมานราชธนา. (2521). หมายเหตุความรู้ต่าง ๆ เล่มที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมพระยาริศรานุวัติวงศ์ และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (1983). สาส์นสมเด็จ เล่มที่ 14. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สภาครู.