ผลการเสริมกากมันสำปะหลังแห้งต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต ของปลานิลที่เลี้ยงในบ่อดิน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเสริมกากมันสำปะหลังแห้งต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิล เพื่อศึกษาระดับการเสริมกากมันสำปะหลังที่เหมาะสมต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปลานิล และเพื่อศึกษาต้นทุนการผลิตปลานิลที่ได้รับการเสริมกากมันสำปะหลังในอาหาร ซึ่งวางแผนงานทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ กำหนดปัจจัยทดลองเป็นอาหารปลานิลทีมีสูตรอาหารที่แตกต่างกัน 4 แบบ ปัจจัยทดลองที่ 1 อาหารเม็ดสำเร็จรูป 32 % โปรตีน (ควบคุม) ปัจจัยทดลองที่ 2 อาหารเสริมกากมันสำปะหลังระดับ 0 % ปัจจัยทดลองที่ 3 อาหารเสริมกากมันสำปะหลังระดับ 16 % ปัจจัยทดลองที่ 4 อาหารเสริมกากมันสำปะหลังระดับ 32% สุมเก็บตัวอย่าง 20 % ของปลานิลทั้งหมด ทุก 2 สัปดาห์ จนครบ 10 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองผลปรากฏว่า น้ำหนักเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน และอัตราการแลกเนื้อไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ p > 0.05 ปริมาณการกินได้ของปลานิล อาหารสูตรที่ 1 มีค่าสูงที่สุด ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ p < 0.05 ยกเว้นปริมาณการกินได้ของเยื่อใยที่รวม ปริมาณการกินได้ของคาร์โบไฮเดรทที่ไม่เป็นโครงสร้าง และประสิทธิภาพในการใช้โปรตีน อาหารเสริมกากมันสำปะหลังมีค่าสูงที่สุด ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ p < 0.05 ต้นทุนค่าอาหารต่อการผลิตเนื้อ 1 กิโลกรัม อาหารเสริมกากมันสำปะหลังดีกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ที่ p < 0.05 สรุปได้ว่ากากมันสำปะหลังแห้งสามารถเสริมในอาหารเลี้ยงปลานิลได้สูงสุดที่ระดับ 32% ในสูตรอาหาร และช่วยลดต้นทุนการผลิตแต่สมรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิลไม่แตกต่างจากชุดควบคุม
Article Details
References
กรมประมง (2564) ข้อมูลเชิงสถิติด้านการประมงของสำนักงานประมงศรีสะเกษปี 2562-2564 ฝ่าย เผยแพร่ กองส่งเสริมการประมง. กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
แก้วตา ลิ้มเฮง, จันทร์จิภา อาภานันท์ และอาภรณ์ อรุณรัตน์. (2557). การศึกษาอัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายของการเลี้ยงปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไมในความหนาแน่นที่ต่างกันในน้ำความ เค็มต่ำ. แก่นเกษตร. 42 (ฉบับพิเศษ 1), 804-809.
ชวนิศนดากร วรรวรรณม ม.ร.ว. (2500). หลักการอาหารสัตว์. หนังสือประกอบการบรรยาย มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 210 น.
ณรงค์ กมลรัตน์. (2560). การศึกษารูปแบบการให้อาหารที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิลในกระชังแขวนในบ่อดิน.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 19 (3), 80 – 87.
ณัฐพงศ์ เมืองสุวรรณ. (2550). ผลของกากมะพร้าวและกากมันสำปะหลังต่อการเจริญเติบโต การย่อยได้ และการใช้ประโยชน์ของอาหารในปลาดุกลูกผสม (Clarias macrocephaus x Clarias gariepinus). วิทยานิพนธ์. วท.ม. (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ). ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญญฤทธิ์ มุ่งจองกลาง. (2544). การศึกษาการนําผลพลอยได้ทางการเกษตรมาผลิตเป็นอาหารหยาบหมักเพื่อใช้เป็นอาหารหยาบสําหรับเลี้ยงโคนมในช่วงฤดูแล้งในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ผดุงศักดิ์ ดวงจันทร์, วิริยะ กิริยะ, วิมล ศิริสีหะวงษ์, และสายัณห์ สืบผาง. (2565). ผลการเสริมใบมันสำปะหลังอัดเม็ดต่อสมรรถนะการเจริญเติบโตของโคเนื้อลูกผสมบราห์มันที่กินฟางข้าวเป็นแหล่งอาหารหยาบหลัก. แก่นเกษตร (เพิ่มเติม). 50 (1), 1-7.
พิพัฒน์ อินทรมาตย์. (2553). ปลานิล. กรุงเทพมหานคร: เกษตรสยามบุ๊คส์.
พิเชต พลายเพชร. (2559). การจัดการทางโภชนาการสำหรับการเลี้ยงปลานิล. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 24 (1), 12-39.
วรพงษ์ นลินานนท์ และ สายชล เลิศสุวรรณ. (2560). ประสิทธิภาพการเจริญเตบิโต และค่าคุณภาพซากของปลานิลที่ได้รับอาหารเสริมใบกระถินเทพาป่นและเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในระดับต่างๆ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ . 20 (ฉบับพิเศษ), 25-33.
สมเจต ใจภักดี. (2530). การศึกษาวิธีการหมักมันสำปะหลังและการนำปมันสำปะหลังมาใช้ในอาหารไก่กระทง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสัตวศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สิทธิชัย ฮะทะโชติ, เกตุนภัส ศรีไพโรจน์ , อรพินท์ จินตสถาพร และศรีน้อย ชุ่มคำ. (2563). ผลของการใช้กากมันสำปะหลังและเอนไซม์ย่อยเยื่อใยในสูตรอาหารปลานิลต่อประสิทธิภาพการย่อยได้และการเจริญเติบโต. แก่นเกษตร. 48 (3), 607-614.
เสาวนีย์ กลิ่นแก้วณรงค์, อรพินท์ จินตสถาพร, ศรีน้อย ชุ่มคำ และสรณัฏฐ์ ศิริสวย. (2563). ประสิทธิภาพของเอนไซม์คาร์โบไฮเดรตในการย่อยวัตถุดิบอาหารสัตว์น้ำและการเติบโตของปลานิลที่ใช้อาหารกากมันสำปะหลังเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรต. วิทยานิพนธ์. วท.ม. (เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
A.O.A.C. (1990). Official Methods of Analysis. The Association of Official Analytical Chemists. Washington, D.C.
Chowdhury, D.K., (2011). Optimal Feeding Rate for Nile Tilapia (Oreochromis niloticus), M.Sc. Thesis, Department of Animal and Aquacultural Sciences, Norwegian University of Life Sciences, Oslo, 76 p.
FAO. (2014). The State of World Fisheries and Aquaculture, Rome, Italy, 223 p.
SAS, (1998). User’s Guide: Statistic, Version 6, 12th ed. SAS Inst. Inc., Cary, NC.
Subepang, S., T. Suzuki, T. Phonbumrung, and K. Sommart. (2019). Enteric methane emissions, energy partitioning, and energetic efficiency of zebu beef cattle fed total mixed ration silage. Asian-Australas. J. Anim. Sci. 32, 548–555.
Wirunpan, K., and Butprom, S. (2018). ผล ของ กาก มัน สา ปะ หลัง หมัก เชื้อ Lentinus squrrosurus ใน อาหาร สุกร รุ่น Results of Cassava Waste Fermented with L. squrrosurus in Growing Pig Ration. Journal of Agri. Research & Extension. 35 (2 Suppl 2), 532-537.
WTSR. (2010). Nutrient Requirement of Beef Cattle in Indochinese Peninsula. Klungnanavitthaya Press, Khon Kaen, Thailand.