การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านขายยา ประเภทร้านยาเดี่ยวในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปี พ.ศ. 2566 เป็นช่วงที่ตลาดยาในประเทศเติบโต ทำให้มีสภาวการณ์การแข่งขันที่สูง โดยพบว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ มาลงทุนเพิ่มร้านยาแบบหลายสาขาเป็นจำนวนที่มากกว่าร้านยาเดี่ยว (ร้านผู้ประกอบการรายย่อย) ผู้วิจัยจึงศึกษาหาแนวทางการดำเนินการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและดำเนินกิจการต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพของร้านยาเดี่ยว การวิจัยเชิงปริมาณนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการร้านยาเดี่ยว 2) เพื่อเสนอแนวทางการปรับตัวของร้านยาเดี่ยว จากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในประเทศไทยที่เคยใช้บริการร้านยา จำนวน 410 คน ด้วยวิธีการสุ่มตามความสะดวกผ่านแบบสอบถามออนไลน์ โดยนำปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านพฤติกรรม และปัจจัยส่วนประสมการตลาดมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมานด้วยแบบจำลองโลจิต ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ร้านยาเดี่ยว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.10 ได้แก่ ผู้บริโภคที่อายุ 36–45 ปี รายได้มากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน อยู่นอกกรุงเทพฯ หรือใกล้ตลาด ไม่มีธุรกิจส่วนตัว และไม่ได้รับยาจากโรงพยาบาลเอกชน สำหรับส่วนประสมการตลาดพบว่า ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญด้านราคา ด้านสถานที่ ด้านสิ่งแวดล้อมภายนอกมีโอกาสเลือกใช้ร้านยาเดี่ยวมากกว่า ในทางกลับกันผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมการตลาดมีโอกาสเลือกใช้ร้านยาหลายสาขามากกว่า ด้วยผลการศึกษานี้ผู้ประกอบการร้านยาเดี่ยวควรขยายเป้าหมายไปนอกช่วงอายุ 36-45 ปี ขยายร้านในเขตชุมชนใกล้ตลาด คงจุดแข็งด้านราคาถูก รักษาความลับลูกค้าอย่างมืออาชีพ และจัดเรียงสินค้าให้เป็นระเบียบ และจัดการระบบสมาชิกให้ผู้บริโภคเห็นประโยชน์เหนือกว่าร้านยาหลายสาขา
Article Details
References
กนกกาญจน์ โชคกาญจนวัฒน์ และ อิทธิกร ขำเดช. (2563). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยาในเขตพระนครศรีอยุธยา. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 10 (2), 156-172.
กรมสนับสนุนการบริการสุขภาพ. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (MEDICAL HUB) (พ.ศ.2560 - 2569). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://hss.moph.go.th/fileupload/2560-102.pdf
ปภัสรา ปลั่งสมบัติ. (2562). พฤติกรรมและการรับรู้คุณภาพการให้บริการของร้านขายยาของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยะวดี จิระศิริสุวรรณ และ วรรณวิษา ศรีรัตนะ. (2567). ร้านขายยาปี’67 คาดยอดขายโต 4.0% ตลาดแข่งขันรุนแรงจากร้านเชนสโตร์ที่เพิ่มขึ้น. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/Drug-Store-CIS3480-KR-2024-04-04.aspx
พชรพนจ์ นันทรามาศ และ สุจิตรา อันโน. (2565). รีสตาร์ท Medical Hub พาเศรษฐกิจไทย ฝ่าวิกฤติโควิด-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: https://krungthai.com/Download/ economyresources/EconomyResourcesDownload_467Medical_Hub.pdf
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2565). ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ผู้ให้บริการ และ องค์กรภาคีที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://media.nhso.go.th/ebook /flipbook/213/1/1
กรมการปกครอง. (2567). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร(รายเดือน). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/ statmonth/#/displayData
สมชาย สุจา. (2558). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการร้านขายยาเดี่ยว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
แสงสุข พิทยานุกุล และ ศิริ ชะระอ่ำ. (2560). การตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 6 (2), 135-145.
อวัสดา กิจสวน, ประวิท ทองไชย, กนก พานทอง และจักรินทร์ ชินสุวรรณ. (2561). กลยุทธ์การตลาดของร้านโชห่วยในยุคไทยแลนด์ 4.0 เพื่อความอยู่รอด กรณีศึกษา ร้านโชห่วย ในเขตอำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. 8 มิถุนายน 2561. อาคาร 24. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
Thavornwattanayong, W. (2020). Opportunity and development of pharmacy business after novel coronavirus 2019 outbreak. Thai Bulletin of Pharmaceutical Sciences. 15 (2), 95-107.