แนวทางการพัฒนาภาวะนำของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1

Main Article Content

วานิช ประเสริฐพร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 94 คน ครูผู้สอน จำนวน 308 คน รวมทั้งสิ้น 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97  สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ในการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 3 ท่าน และใช้ค่าพิสัยคลอไทล์เพื่อประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ ของแนวทางการพัฒนาภาวะนำของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1
          ผลการวิจัยพบว่า
          1. สภาพปัจจุบันของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต1 โดยรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นของแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต1 มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็น เท่ากับ 0.27  และได้แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 รวมทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเรียนรู้และทักษะการคิด 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ด้านการบริการจัดการเชิงนวัตกรรม 4) ด้านความสัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม เรียงตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ (พ.ศ. 2563 – 2565). กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ชัชชญา พีระธรณิศร์. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของครูโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัด

นครศรีธรรมราช. วารสาร มจร อุลบปริทรรศน์. 8 (2), 1061-1072.

ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ณิชาภา สุนทรไชย. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัด

กาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ถนอมจิตต์ ขุททะกะพันธ์. (2546). การประเมินความต้องการจําเป็นในการพัฒนาความรู้และทักษะของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยสาสน์.

ประไพศรี สีฬหะกร. (2558). ภาวะผู้นำครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในภาคใต้ตอนบน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 15 (1), 95-110

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2563). การพลิกโฉมระบบการศึกษาเพื่อตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ. สาขาวิชา การบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการ คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษา.

วีระศักดิ์ โคตรทาและอภิรดี จริยารังษีโรจน์. (2566). ความต้องการจำเป็นในภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูโรงเรียนกฤตศิลป์วิทยา. วารสารสหวิทยการจัดการและวิชาการ. 3 (4), 687-706

สำนักงานเลขาธิการสภาพการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Avolio, B.J., & Yam Marino, F.J. (2013). Transformational and Charismatic leadership: The Road ahead. Emerald Group Publishing.

Bass, B. M., & Riggio, R.E. (2006). Transformational leadership. New York, NY: PsychologyPress.

Day, C.,&Harris, A. (2003). Teacher leadership, reflective practice and school improvement. In K. Leithwood & P. Hallinger (Eds.) Second international handbook of educational Leadership and administration. Norwell,MA:Kluwer Academic.

Danielson, C. (2006). Teacher leadership that strengthens professional practice. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.

Frost, D. (2008). Teacher Leadership: values and voice, School Leadership and Management. 8 (4), 337-352.

Frost, D., & Roberts, A. (2009). Teacher leadership in action. Collaborative Action ResearchNetwork International Conference, Athens, Greece.

Harris, A. and Muijs, D. (2003). Teacher Leadership: principles and practice. National College for School Leadership (NCSL).

Katzenmeyer, M, & Moller, G. (2001). Awakening the sleeping giant:Helping teacher develop As leaders. (2nd ed) Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Li, L.& Liu, Y. (2022). An integrated model of principal transformational leadership and Teacher leadership that is related to teacher self-efficacy and student academic Performance. Asia Pacific Journal of Education. 42 (4), 661-678.