แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยด้านแนวคิดด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ความยากต่อการลอกเลียนแบบ ปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ส่งผลความสำเร็จทางการตลาด และความได้เปรียบด้านการแข่งขัน

Main Article Content

ภัทรพล ชุ่มมี

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1) เพื่อศึกษาขนาดของความสำคัญในแต่ละองค์ประกอบ ได้แก่ แนวคิดด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ความยากต่อการลอกเลียนแบบ ปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ความสำเร็จทางการตลาด และความได้เปรียบด้านการแข่งขันสำหรับวิสาหกิจชุมชน และ 2) เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมกลมกลืนของแบบจำลองสมการโครงสร้างของปัจจัยด้านแนวคิดด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ความยากต่อการลอกเลียนแบบ ปัจจัยที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่ส่งผลความสำเร็จทางการตลาด และความได้เปรียบด้านการแข่งขัน เก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 310 ราย ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ที่ทำการทดสอบค่าความสอดคล้องแล้วมีค่าระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล
         ผลการวิจัยพบว่า 1) เมื่อพิจารณาความสำคัญในแต่องค์ประกอบพบว่า ตัวแปรสังเกตุได้ของแต่องค์ประกอบพบว่า ด้านลักษณะบรรจุภัณฑ์ให้มีความเป็นตัวแทนของสินค้า ด้านสินค้ามีการออกแบบไม่ซ้ำกันใครด้านการสร้างสรรค์ สินค้าโดยผสมผสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านการเจริญเติบโตของการท่องเที่ยวที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของยอดขายสินค้า ด้านการขยายสายผลิตภัณฑ์ และ ด้านสร้างความแตกต่างในสินค้าและบริการ และ 2) ผลการวิจัยพบว่ากรอบแนวความคิดในการวิจัยมีความเหมาะสมกลมกลืนดี (Chi-square = 978, df = 489, p-value = 0.0000, RMSEA = 0.038, CFI = 0.93, GFI = 0.93) โดยพบว่าเส้นทางความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีความสัมพันธ์ทางตรงในบวกกับความสำเร็จทางการตลาดมีความสำคัญสุด
          ข้อเสนอแนะพัฒนาและปรับเปลี่ยนลักษณะสินค้าให้มีความเป็นเอกลักษณ์ โดดเด่นมีเอกลักษณ์ยากต่อการลอกเลียนแบบ ต้องนำวัฒนธรรมท้องถิ่นผสมผสานกับวัฒนธรรมสมัยใหม่ก่อให้เกิดการต่อยอดสินค้าได้ การนำเทคโนโลยีที่ใช้ในวิสาหกิจชุมชนนั้น ร่วมกับการบริหารจัดการให้สินค้าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคด้วยการออกแบบสินค้า ปรับปรุงคุณภาพสินค้า รวมถึงส่งเสริมการเข้าสู่ช่องทางการตลาดแบบใหม่ ๆ เพิ่มผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกช่วงวัย ควบคู่กับการออกเนื้อหาและบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดใจ รวมถึงการรวมมือกันทำงานในชุมชน นำแรงงานในท้องถิ่นและผู้สูงอายุมาทำงานในกิจการในท้องถิ่นของตนเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุสุมา คงฤทธิ์. (2563). การพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้ สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: http://www.fpoJour nal.com/creative-economy/.

โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. (2562). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.phd.ru.ac.th/images/document/KM/KM-2562.pdf.

สุชาติ จรประดิษฐ์ และคณะ. (2557). อิทธิพลของการใช้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และ คุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีต่อความสำเร็จทางการตลาดของสินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ในประเทศไทย. วารสุทธิปริทัศน์. 28 (88), 170-195.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สํานักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น.

ชัชชนก เตชะวณิช. (2561). บุพปัจจัยความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 5 (1), 93-116.

มาลินี ศรีไมตรี. (2559). การพัฒนารูปแบบและศักยภาพของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมตามอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่นักท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 11 (2), 53-65.

ภัทรพล ชุ่มมี. (2566). การพัฒนากรอบแนวความคิดสมการโครงสร้างสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนในธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (6), 281-295.

ณดา จันทร์สม. (2565). ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นซอฟท์พาวเวอร์ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: https://nida.ac.th/economy-into-soft-power-for-sustainable-development/

วสุธิดา นักเกษม และ ประสพชัย พสุนนท์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางด้านการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal. 11 (1), 2148- 2167.

ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. (2565). ข้อมูลวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ: 28 กุมภาพันธ์ 2565. แหล่งที่มา: https://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory .php?region_id=&province_id=13&amphur_id=&key_word=

พรรณนุช ชัยปินชนะ. (2560). กลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์เซรามิกจังหวัดเชียงใหม่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JCDLQ/article/view/126634/96281.

Aisha, A. et., al. (2019). A Competency Model for SEMs in the Creative Economy. International Journal of Business. 24 (4), 369-392.

Brown, T. A. (2015). Confirmatory Factor Analysis for Applied Research. (2nd ed.). NewYork, NY: Guilford Publications.

Distanont, Anyanitha and Khongmalai, Orapan. (2020). The role of innovation in creating a competitive advantage. Kasetsart Journal of Social Sciences. 41, 15–21.

Gunday, G., et., al. (2009). Effect of Innovation Types on Firm Performance. International Journal Production Economics. 133, 662-676.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E., (2010). Multivariate data analysis: A global perspectives. Upper, Saddle River, NJ: Pearson Education, International.

Hoyle, R. H., & Kenny, D. A. (1999). Statistical power and tests of mediation. In R. H. Hoyle (Ed.), Statistical strategies for small sample research. Newbury Park: Sage.

Kline, R. B. (2011). Principles and practice of structural equation modeling 3rd, New York, NY: The Guilford Press.

Lestari, Setyani Dwi. et. al. (2020). Antecedents and Consequences of Innovation and Business Strategy on Performance and Competitive Advantage of SMEs. Online. Retrieved July 17, 2021. From : https://www.koreascience.or.kr/article /JAKO20 2017764018182.pdf

Mueller, R., and Hancock, G. (2001). Factor analysis and latent structure, confirmatory. International encyclopedia of the social & behavioral sciences. 5239-5244.

Muthén and Muthén. (2002). Beyond SEM: General Latent Variable Modeling. Online. Retrieved September 16, 2021. from: https://link.springer.com/article/10.2333 /bhmk.29.81

Nuryakin, et al. (2018). Mediating effect of value creation in the relationship between relational capabilities on business performance. Contaduría y Administración. 63 (1), 1-21.

Chummee, P. (2023). The Relationship Model of Creative Economy Concepts That Affect Marketing. International Journal of Research. 11 (1), 83-91.

Rosyadi, S., et., al. (2020). The Multi-Stakeholder’s Role in an Integrated Mentoring Model for SME’s in the Creative Economy Sector. SAGE (Oct.-Dem.), 1-14.

UNESCO. (2013). Creative industries boost economies and development, shows UN Report. Online. Retrieved September7, 2021. from: http://www.unesco.org/new/en/media-services/in-focus-articles/creative-industries-boost-economies-and-development-shows-un-report/

UNTAD. (2021). Creative economy to have its year in the sun in 2021. Online. Retrieved September7, 2021. from: https://unctad.org/news/creative-economy-have-its-year-sun-2021