การบริหารจัดการน้ำของชุมชนเพื่อการเกษตรโดยภูมิปัญญาล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาวิธีการบริหารจัดการน้ำของชุมชนเพื่อการเกษตรโดยภูมิปัญญาล้านนา 2.ศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนจากการใช้ภูมิปัญญาล้านนา 3. เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการน้ำของชุมชนเพื่อการเกษตร โดยการใช้หลักการของภูมิปัญญาล้านนา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนที่มีบริบททางภูมิสังคมใกล้เคียงกัน ในส่วนของการเก็บข้อมูลระเบียบวิธีวิจัย ผู้วิจัยจะศึกษาวิธีการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพ ทั้งนี้โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลวิจัยแบบมีส่วนร่วมหลายรูปแบบ คือ การสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth Interview) กระบวนการวิจัยชุมชนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) การเรียงลำดับความสำคัญของปัญหา (Matrix Ranking) ทั้งภาครัฐและประชาชนในเขตพื้นที่ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สรุปข้อมูล กระบวนการและข้อเท็จจริง ซึ่งผลวิจัยสรุปได้ ดังนี้
- การบริหารจัดการน้ำของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาล้านนา สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ที่มีผลต่อการเกษตรในชุมชนได้ โดยการหลักสำคัญคือ การคงอยู่ของภูมิปัญญาโดยนำวัฒนธรรม ความเชื่อ และการเคารพ และปฏิบัติตามกฎและกติกาอย่างเข้มแข็งของชุมชน ส่งผลให้กลุ่มผู้ใช้น้ำสามารถบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพทำให้เกิดวิถีชุมชนแบบพึ่งตนเอง
- เครือข่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและชุมชนทั้งพื้นที่ ตำบลวรนครและตำบลป่าแลวหลวง จังหวัดน่าน มีหน่วยงานเข้ามาร่วมบูรณาการ โดยนำศาสตร์ความรู้ภูมิปัญญาล้านนาที่มีมาแต่เดิม และนำศาสตร์ความรู้สมัยปัจจุบันด้านการชลประทานมาพัฒนา การสร้างความร่วมมือ วางแผน และส่งเสริมความรู้ ที่ส่งผลต่อการผลักดันให้พื้นที่มีประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ทำการเกษตร
3. รูปแบบการบริหารจัดการน้ำของชุมชนเพื่อการเกษตร สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนที่มีบริบททางภูมิสังคมใกล้เคียงกันได้ โดยตำบลวรนคร อำเภอปัว และตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข พบว่า การเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคมขับเคลื่อน ในการพัฒนาเชิงพื้นที่ มีการจัดทำแผนภูมิสังคม แต่งตั้งคณะทำงานในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศทำการสำรวจทรัพยากรแหล่งน้ำ โดยการใช้หลักความแม่นยำของเทคโนโลยีเรื่อง water accounting วัดค่าระดับปริมาณน้ำฝน ปรับปรุงการใช้น้ำของกลุ่มเกษตรกร วางแผนการผันน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร โดยใช้เทคโนโลยีการจัดทำด้านการถ่ายถอดความรู้เรื่องการจัดทำแผนที่ผังน้ำ การคำนวณหาตัวเลขสมดุลน้ำ สถานะแหล่งน้ำและโครงสร้างน้ำ เก็บข้อมูลมาทำเป็น GPS เพื่อกำหนดพิกัด จุดแหล่งน้ำในพื้นที่ พร้อมออกแบบการเพาะปลูกการเกษตรในแนวคิดทฤษฎีสมัยใหม่ ร่วมกับบริบทภูมิปัญญาล้านนาประยุกต์การบริหารจัดการน้ำชุมชนร่วมกับการบริหารจัดการน้ำ ชลประทานโดยเกษตรแบบมีส่วนร่วมสมัยใหม่ (Participatory Irrigation Management) เพื่อการพัฒนาระบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพต่อไป
Article Details
References
กรมชลประทาน. (2510). กฎหมายของพระเจ้ามังรายมหาราช พระยาเจ้าแห่งล้านนาไทย. พระนคร. พิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2553-2562 (Strategic National Action Plan (SNAP) on Disaster Risk Risk Reduction 2010 – 2019).
จุมพล หนิมพานิช. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Osborne, Stephen P. (2010). “Introduction the (New) Public Governance: a suitable case fortreatment?”. in The New Public Governance: Emerging Perspectives on the theory and Practice of Public Governance. Edited by Osborne, StephenP. London and New York: Routledge.