การสร้างการรับรู้และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ด้วยการตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ผึ้งชันโรงบ้านหัวควน ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา

Main Article Content

หมัดเฟาซี รูบามา
นพวัล มงคลศรี
จิตกรี บุญโชติ
พิทยาภรณ์ พัฒโน
คารม บัวผัน
ฮากิม สุดินปรีดา

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง การสร้างการรับรู้และพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายเชิงพาณิชย์ด้วยการตลาดดิจิทัลผลิตภัณฑ์ผึ้งชันโรงบ้านหัวควน ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา จะสามารถพัฒนาศักยภาพของนวัตกรชาวบ้านและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยศึกษาบริบทและสถานการณ์การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผึ้งชันโรงและแนวทางการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายบนช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และออกแบบช่องทางการรับรู้และการจัดจำหน่ายบนสื่อ social media ประเภทต่างๆ อาทิ Youtube, Facebook และสร้าง Fanpage เพื่อเป็นช่องทางการตลาดดิจิทัล
          งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการรับรู้และพัฒนาการตลาดเชิงพาณิชย์ด้วยช่องทางการตลาดดิจิทัล เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผึ้งชันโรงบ้านหัวควน ต.ท่าช้าง อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เป็นการวิจัยและทำงานแบบมีส่วนร่วม (PAR) กับนวัตกรชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงบ้านหัวควน ต.ท่าช้าง เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีระยะเวลาในการศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 – พฤษภาคม 2565. การวิเคราะห์ข้อมูลจากปรากฏการณ์ และการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของช่องทางการตลาดที่พัฒนาขึ้น
          สรุปผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเลี้ยงผึ้งโพรงและชันโรงบ้านหัวควน ต.ท่าช้าง มีช่องทางการสร้างการรับรู้และช่องทางการตลาดเพิ่มขึ้น และประสิทธิภาพการสร้างการรับรู้และช่องทางการตลาดที่พัฒนาขึ้นทำให้มียอดขายเพิ่มขึ้นจากช่องทางการจัดจำหน่ายเดิมได้มากถึงร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยรวมทั้งปีในปีที่ผ่านมา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กังสดาล กนกหงษ์. (2561). แนวทางการพัฒนาและการจัดการเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พืชผักอินทรีย์ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, (2), 261–284.

ชมพูนุช น้อยหลี. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจากร้านค้าออนไลน์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ณัตตยา เอี่ยมคง. (2566). การยกระดับความสามารถทางการแข่งขันด้วยธุรกิจดิจิทัล โอทอปบ้านหัตถศิลป์ จังหวัดปทุมธานี, วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 15 (2), 135-150.

ณฐมน อังกูรธนโชติ. (2555). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ของร้านบ้านหม้อ แฮนดิคราฟท์ วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทศพร แก้วขวัญไกร. (2560). ทางรอดวิกฤติเศรษฐกิจด้วยแนวทางวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 9 (2), 33-50.

ธีนิดา บัณฑรวรรณ. (2565). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดและการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดในจังหวัดขอนแก่น. journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (5), 399-415.

เปรมกมล หงส์ยนต์. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ (ลาซาด้า) ของผู้บริโภคยุคดิจิทัลในกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

รัฐพล สังคะสุข, กัลยา นาคลังกา, วิรยาภรณ์ เอกผล และ วรพรรณ สุรัสวดี. (2560). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (1), 40-54.

รุ่งทิวา แสงสกุล. (2557). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับความพึงพอใจที่มีผลต่อ ส่วนประสมทางการตลาดบริการกับกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสั่งซื้อดอกไม้ ผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัย. การศึกษาตามหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตกล่มุวิชาการประกอบการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วัชราภรณ์ บุญมาเรือง, ประนอม คำผา และ กิตติมา จึงสุวดี. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 7 (2), 235-248.

สามารถ สิทธิมณี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางช่องทาง Online: กรณีศึกษาจังหวัดน่านและกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกริก.