การพัฒนาความสามารถการคิดแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ วิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต ตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ร่วมกับแผนผังความคิด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ ประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้รูปแบบการวิจัยกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง โดยศึกษาจากกลุ่มประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 20 คน ปีการศึกษา 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 ชุดและแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 8 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจสำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเชื่อมั่น ความยากง่าย อำนาจจำแนก ค่าประสิทธิภาพและค่าดัชนีประสิทธิผล
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.51/81.44 และค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.69 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ 2) นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียน ( =32.45) สูงกว่าก่อนเรียน ( =11.80) 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( =24.35) สูงกว่าก่อนเรียน ( =7.75) และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.50)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว
กัณฐาภรณ์ พานเงิน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ชีวิตแบบพอเพียงอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ชุมชนริมน้ำจันทบูร กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
กิตตินันท์ ถนอมวงษ์. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2565). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
พิพัฒน์ ไพบูลย์วัฒนกิจ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาอนาคตโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Veridian E-Journal Silpakorn University. 9 (3), 653-673.
รุจิเรข ฉอยทิม และมนัสท์ น้ำสมบูรณ์. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรื่อง วิกฤตการณ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคต. Veridian E-Journal : Silpakorn University. 10 (2), 811-829.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2553). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาศิลปากร.
ศศิธร พงษ์โภคา และอุบลวรรณ ส่งเสริม. (2558). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด. Veridian E-Journal : Slipakorn University. 8 (2), 1228-1237.
ศิริขวัญ เบ็ญจกรรณ์. (2562). ผลการใช้รูปแบบการสอนการคิดแก้ปัญหาอนาคตที่มีต่อความสามารถในการคิด แก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 10(2), 479-494.
สายรุ่ง กิจโชติช่วง. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการ คิดแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยชุดกิจกรรมกระบวนการแก้ปัญหาอนาคต. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน กราฟฟิก.
สุปราณี คำแปง และชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงอนาคตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Buddhist Education and Research : JBER, 8 (2), 72-82.
อมรรัตน์ วิริขิตกุล และเบญจพร สว่างศรี. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ กระบวนการกลุ่ม เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : มทร.สุวรรณภูมิ. 5(s), 63-75.
อศัลยา ดวงระหว้า. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาฟิสิกส์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดแก้ปัญหาอนาคตตามแนวคิดของทอร์แรนซ์. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อานันท์ กรมน้อย และสิทธิพล อาจอินทร์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอนาคตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยรูปแบบการสอนคิดแก้ปัญหาอนาคต. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 7 (3), 99-115.
Torrance, P.E. (1962). Guiding creative talent. Englewood Cliffs, NJ.: Prentice-Hall.
Tuckman. (1999). Graphic Organizer as Aids to Text Learning. Instruction. 37, 85-105.