ผลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม มีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมผู้เรียนสู่การทำงานที่ซับซ้อน ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานผ่านเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ นักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 28 คน ซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ที่เรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบวัดทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม พบค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสำหรับนักศึกษาสาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน มีทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
ธนพล จตุพร, สนิท ตีเมืองซ้าย และ ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2566). การจัดการเรียนรู้ผสมผสานแบบปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลรัตนากาฬสินธุ์. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 3 (1), 295-312.
ประทีป คงเจิรญ. (24564). ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม: คุณลักษณะสำคัญของพลโลกในยุคเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม. Journal of Humanities and Social Sciences ThonburiUniversity. 15 (3), 165-177.
รัชกร ประสีระเตสัง และคณะ. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมในศตวรรษที่ 21. URU-J.ISD. 13 (2), 1-11.
อรรถพร วรรณทอง. (2564). การพัฒนาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบเปิดออนไลน์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมสําหรับผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 18 (2), 165-178.
อภิชาติ วิชัยโย, สนิท ตีเมืองซ้าย และอุบลวรรณ จันทรเสนา. (2566). การส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน ด้วยเทคนิคเพื่อนคู่คิดสําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านดอนดู่. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 3 (4), 751-766.
อัธยา เมิดไธสง. (2567). แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 18 (1), 77-88.
Driscoll, M. (2002). Web-Based Training: Creating e-Learning Experiences. 2 nd ed. San Francisco: Jossey-Bass Pfeiffer.
Kay, K. (2010). 21st century skills: Why they matter, what they are, and how we get there. In Bellanca, J., & Brandt, R. (Eds.), 21st century skills: Rethinking how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.
Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times. San Francisco, CA: John Wiley & Sons.