การศึกษาการอนุรักษ์ธรรมชาติในภูฏาน: การนำไปประยุกต์ใช้ บางประการสำหรับประเทศไทย

Main Article Content

สุพักตรา สุทธสุภา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบาย กฎหมาย แผนงาน โครงการและแนวปฏิบัติ หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติในประเทศภูฏาน 2) สำรวจความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติจากกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3) เสนอแนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติและมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทยโดยการประยุกต์ใช้แนวทางความสำเร็จของประเทศภูฏาน การศึกษานี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจพื้นที่ และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการกับตัวแทนผู้ที่อยู่อาศัยและปฏิบัติงานในบริเวณพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติและบริเวณใกล้เคียง 30 คน ผลการวิจัยพบว่า การอนุรักษ์ธรรมชาติในภูฏานประสบความสำเร็จเนื่องจากปัจจัยหลายประการ เช่น นโยบายระดับชาติ กฎหมาย วิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชน จริยธรรมทางพุทธศาสนา และบรรทัดฐานทางสังคม ด้านความคิดเห็นอย่างไม่เป็นทางการต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ พบว่าผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับนโยบาย กฎหมาย แผนงานการอนุรักษ์และพัฒนา และโครงการที่รัฐดำเนินการ ข้อเสนอแนะแนวทางการอนุรักษ์ธรรมชาติและมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย ได้แก่ โครงการพัฒนาการอนุรักษ์แบบบูรณาการที่มีการปรึกษาหารือกับชุมชน การประยุกต์ใช้แนวทางของ B2C2 เพื่อการจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูง และการสร้างบรรทัดฐานทางสังคมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2567). ฐานข้อมูลกองการต่างประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://fad.mnre.go.th/th/mph/content/196

ชวิศ จิตรวิจารณ์ และคณะ. (2552). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา กรณีศึกษาป่าต้นน้ำ หมู่บ้านนาปลาจาด ตำบลห้วยผา อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. รายงานการวิจัย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

ทรงธรรม สุขสว่าง และธรรมนูญ เต็มไชย. (2561). แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในประเทศไทย. (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: ส. มงคลการพิมพ์.

ประยูร วงศ์จันทรา. (2013). แนวทางการประยุกต์ใช้หลักทางพระพุทธศาสนาในการสอนการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า. Journal of Education and Innovation. 12 (1), 95–112.

พระราชบัญญัติป่าชุมชน. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 136 ตอนที่ 71 ก ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2562.

มงคล สาฟู และคณะ. (2555). ความหลากหลาย ความชุกชุม และพื้นที่อาศัยที่เหมาะสมของสัตว์ป่าบริเวณแนวเชื่อมต่อป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มงานวิจัยสัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช.

สหประชาชาติ ประเทศไทย. (2567). การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://thailand.un.org/th/173511-การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สามัคคี บุณยะวัฒน์. (2541). ป่าต้นน้ำลำธารและการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำ. ครูกับการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิจัยป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2567). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.rdpb.go.th/th/Sufficiency

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมุกดาหาร. (2561). สรุปผลโครงการส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ 3 สิงหาคม 2561 ณ สถานีควบคุมไฟป่าดงบังอี่–ถ้ำผาน้ำทิพย์ ต.บ้านเป้า อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: http://mukdahan.nfe.go.th/nongsung/images/nature.pdf

สำนักพัฒนาขีดความสามารถการท่องเที่ยว อพท. (2565). คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.dasta. or.th/th/article/1495

อารยะ จันทรสุขโข. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อศูนย์การเรียนรู้การอนุรักษ์ป่าชายเลน กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. นิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Chhenpo, Nima Sangye. (2003). A Glimpse of Bhutanese Culture. Phuentsholing, Bhutan: KMT Press.

Dargye, Yonten. (2005). An Introduction to Values Education: A Guide to Happy and Harmonious Living. Thimphu, Bhutan: National Library of Bhutan.

Department of Research and Development Services. (2002). Community-Based Natural Resource Management in Bhutan: A Framework. Thimphu, Bhutan: Ministry of Agriculture.

Encyclopedia Britannica. (2024a). Bhutan. Online. Retrieved April 2, 2024. from https://www. britannica.com/place/Bhutan

Encyclopedia Britannica. (2024b). Thailand. Online. Retrieved April 2, 2024. From https:// www.britannica.com/place/Thailand

Hackett, B. (1980). Landscape Conservation. Chichester, UK: Packard Publishing Ltd.

Lonely Planet. (2002). Bhutan. Hongkong: Colorcraft Ltd., Lonely Planet Publications Pty., Ltd.

Lucas, P.H.C. (1992). Protected Landscapes: A Guide for Policy-makers and Planners. Gland, Switzerland: IUCN.

Motloch, J. (1991). Introduction to Landscape Design. New York: Van Nostrand Reinhold.

National Environment Commission. (1998). The Middle Path: National Environment Strategy for Bhutan. Bangkok, Thailand: Keen Publishing.

National Library of Bhutan. (1999). Driglam Namzhag (Bhutanese Etiquette): A Manual. Translated by Dr. Yonten Dargye. Thimphu, Bhutan: National Library of Bhutan.

Nature Conservation Division. (2004). Bhutan Biological Conservation Complex: A Landscape Conservation Plan. Thimphu, Bhutan: Nature Conservation Division, Department of Forestry Services.

Planning Commission. (1999). Bhutan 2020: A Vision for Peace, Prosperity and Happiness. Bangkok, Thailand: Keen Publishing.

Royal Society for Protection of Nature. (2006). Buddhism and the Environment. Thimphu, Bhutan: Kuensel Corporation.

Schicklgruber, C. and F. Pommaret. (1997). Bhutan: Mountain Fortress of the Gods. New Delhi, India: Bookwise Pvt., Ltd.

Social Forestry and Extension Section. (1996). Community Forestry Guidelines for Bhutan. Thimphu, Bhutan: Ministry of Agriculture, Forestry Services Division.

Tsering, Dechen. (2002). Public Biodiversity Policy Analysis in Bhutan. Bangkok, Thailand: Keen Publishing.

United Nations Environment Programme, & World Trade Organization (WTO). (2005). Making Tourism More Sustainable: A Guide for Policy Makers. Online. Retrieved April 2, 2024. From https://wedocs.unep.org/20.500.11822/8741

WWF Bhutan Program. (2005). WWF Bhutan Annual Report’05. Thimphu, Bhutan: WWF Bhutan Program Office.