การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดการเรียนเสริมความรู้ เรื่อง ความเค้นและความเครียดดึง สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดการเรียนเสริมความรู้ เรื่อง ความเค้นและความเครียดดึง 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง ความเค้นและความเครียดดึง 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อชุดการเรียนเสริมความรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาอุตสาหกรรม ของวิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนเสริมความรู้ เรื่อง ความเค้นและความเครียดดึง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เรื่อง ความเค้นและความเครียดดึง และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อชุดการเรียนเสริมความรู้ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการทดสอบค่าที (t-test Dependent)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการพัฒนาชุดการเรียนเสริมความรู้ เรื่อง ความเค้นและความเครียดดึง มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 88.75/84.67 ซึ่งถือว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 2) นักศึกษาที่ได้รับการสอนด้วยชุดการเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อชุดการเรียนเสริมความรู้ เรื่อง ความเค้นและความเครียดดึง พบว่า โดยรวมนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.52)
Article Details
References
ณัฐวิชช์ สุขสง. (2560). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนเรื่องการควบคุมเซอร์โวนิวเมติกส์ด้วย PLC. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
เทียนฉาย กีระนันทน์ และคณะ. (2558). สถิติ วิจัย และประเมินผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
บริษัท ชัชวรรณเมทัล จำกัด. (2565). เหล็กแผ่น SS400 คืออะไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 มี.ค. 2566. แหล่งที่มา: https://ccwmetal.com/ss400-steel-plate
ประจักษ์ อ่างบุญตา. (2563). การศึกษาสมบัติเชิงกลในกระบวนการชุบแข็งของการเชื่อมเหล็กกล้าไร้สนิม AISI 420 ด้วยแรงเสียดทานสำหรับอุตสาหกรรมเชื่อมเพลา. โครงการงานวิจัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
พุทธ ธรรมสุนา. (2560). การพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการสอน วิชางานไฟฟ้ายานยนต์ รหัสวิชา 3101-2104 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสุง (ปวส.) พ.ศ. 2557 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยาลัยเทคนิคอุดรธานี สถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
ภานุวัส ทิพย์รัตน์. (2565). การพัฒนาชุดการสอนวิชาการงานอาชีพเรื่องวัสดุวิศวกรรมสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การสืบเสาะเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
รุ่งอรุณ บุญถ่าน. (2554). สมบัติเชิงกลของวัสดุเชิงประกอบพื้นอลูมิเนียมเสริมแรงด้วยอนุภาคซิลิคอนคาร์ไบด์ที่ขึ้นรูปด้วยวิธีกวนผสม. ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโลหการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.
สิททิกัน สินบุเพ็ด. (2562). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอน เรื่องการคำนวณค่าไฟฟ้าของสายส่งกำลังไฟฟ้า หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเทคนิควิชาชีพ สะหวันนะเขต สปป.ลาว. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้าศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สุนทร ดอนชัย. (2565). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาการออกแบบระบบไฟฟ้า รหัสวิชา 30104-2002 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุธศักราช 2563 สาขงานไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี. วิจัยผลงานวิชาการเพื่อประกอบการเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ.วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.