ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของพนักงานผู้ปฏิบัติงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ในจังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน และ 2) ปัจจัยด้านความพึงพอใจในการทำงาน ที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของพนักงานผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ในจังหวัดระยอง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ในจังหวัดระยอง จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นคำถามแบบปลายปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการทำงานส่งผลกระทบทางบวก ต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในภาพรวมและรายด้าน เมื่อพิจารณาแรงจูงใจในการทำงานโดยรวม พบว่าแรงจูงใจในการทำงานส่งผลกระทบทางบวก ต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งหมด 3 ตัวแปรได้แก่ แรงจูงใจในการทำงานจากความต้องการดำรงอยู่ จากความต้องการความสัมพันธ์ และจากความต้องการการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความพึงพอใจในการทำงานส่งผลกระทบทางบวก ต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องในภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในการทำงานรายด้าน พบว่า ความพีงพอใจในการทำงานจากความสำเร็จของงาน จากการได้รับการยอมรับนับถือ จากลักษณะงาน และจากโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานส่งผลกระทบทางบวกต่อการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องของพนักงานยกเว้นความความพึงพอใจในการทำงานจากความรับผิดชอบส่งผลกระทบทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ต่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องของพนักงาน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานเท่ากับ -0.382
Article Details
References
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2565). ข้อมูลโรงงานแยกตามพื้นที่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: http://userdb.diw.go.th/factoryPublic/tumbol.asp.
กรุงเทพธุรกิจ. (2565). ชวนรู้จัก “BYD” บุกตลาด EV ไทย พร้อมผลิตเพื่อส่งออก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/auto/1022068.
กรุงเทพธุรกิจ. (2566). เดินหน้าพัฒนาทักษะแรงงานไทย รับการเป็นฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566. แหล่งที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/ economic/.
จุฑามาศ สนกนก. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการของอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมภพ ห่วงทอง และ สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2564). ความต้องการพัฒนาตนเองด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนปฏิบัติการโรงพยาบาลบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม. 1 (1), 51-64.
สถาบันยานยนต์. (2565). ข้อมูลผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://data.thaiauto.or.th/,
สุวิมล ติรกานันท์. (2551). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2565). นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.eeco.or.th/th/.
Alderfer, C. P. (1972). Theorics of motivation ERG. New York: Free Press.
Anna, M. Z. & Anna, A.W. (2014). Does self-improvement explain well-being in life and at workplace? Analysis based on selected measures of well-being. Polish Psychological Bulletin. 45 (2), 128-14.
ASEAN Automotive Federation. (2022). Asean Automotive Federation 2021 Statistics. Search when 13 September 2023. Source: https://www.asean-autofed.com/.
Evakem, G. (2023). Why Great People Focus on Continuous Self-Improvement – Self-Leadership. Search when 24 January 2023. Source: https://motive-lead.com/why-great-people-focus-on-continuous-self-improvement-self-leadership/.
Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.
Martin Painter. (2004). The Politics of Administrative Reform in East and Southeast Asia: From Gridlock to Continuous Self-Improvement. Governance an International Journal of Policy. 17 (3).
Mattheson, M. L. and Russell. C. L. (2013). Systematic review of continuous self-improvement interventions. Clinical Nursing Studies. 1, 1.
Sanjeevdatta. (2024). The Importance of Continuous Self-Improvement. Online. Searched when 18 March 2024. Source : https://sanjeevdatta.com/continuous-self-im provement/.
Statista. (2022). World Vehicle Production. Online. Searched when 13 September 2023. Source : https://www.statista.com/.
Weiers, M. R. (2005). Introduction to business statistics. 5th edition. Pensyllvania: Brooks/Cole.