การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ภูเมศร์ พรหมชัยนันท์
เกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ
ธันยาภรณ์ นวลสิงห์
หทัย น้อยสมบัติ

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาเอกชน และ 2) พัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาเอกชน ใช้การวิจัยแบบประสานวิธี มี 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนเอกชน กลุ่มตัวอย่างได้แก่โรงเรียนประถมศึกษาเอกชน 238 โรงเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร่ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 95 โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน คือผู้อำนวยการและครูในโรงเรียนเดียวกัน ระยะที่ 2 พัฒนาและประเมินโปรแกรมฯ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น
        ผลการวิจัยพบว่า
        1. สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโปรแกรมเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1) การสรุปและรายงานผลการจัดการเรียนรู้ 2) การเตรียมการจัดการเรียนรู้ 3) การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 4) การดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ
        2. โปรแกรมพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการและกิจกรรมการพัฒนา ใช้หลักการพัฒนา 70 : 20 : 10 และ ผลการประเมินโปรแกรมฯ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) ปีการศึกษา 2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

จิรประภา อัครบวร. (2554). พัฒนาคนบนความยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: หจก. กรกนกการพิมพ์.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ดนัย เทียนพุฒ. (2557). การบริหารทรัพยากรบุคคลสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: ไทยเจริญการพิมพ์.

ทองจันทร์ มิระสิงห์. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดแบบสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการคิดแบบ SCAMPER. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ถอดรหัสปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การสอนกระบวนการคิด. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สพจ).

นรินทร์ สุทธิศักดิ์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้านพลศึกษาของนักศึกษาในสถาบันการพลศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นิตยา ทองสงค์. (2552). การพัฒนาทักษะการคิดแบบวิพากษ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยกระบวนการคิดแบบไตรสิกขา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสาหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร:

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา (2557) ความคิดสร้างสรรค์ : พรสวรรค์ที่พัฒนาได้ (พิมพ์ครั้งที่ 2) : กรุงเทพมหานคร, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปริญญา มีสุข. (2552). ผลของการออกแบบโปรแกรมการพัฒนาทางวิชาชีพแบบมีส่วนร่วมของครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2551). ทักษะ 5C เพื่อพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยอดอนงค์ จอมหงส์พิพัฒน์. (2553). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาครูผู้นำการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วราพร ศรีสว่าง. (2558). การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของครูผ่านกระบวนการออกแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิสุทธิ์ เวียงสมุทร. (2553). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 1-2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เวียงชัย อติรัตนวงษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สมชาติ กิจยรรยง. (2556). เทคนิคเสริมสร้างพัฒนาบุคลากรให้บริการเป็นเลิศ. กรุงเทพมหานคร: สมาร์ท ไลฟ์.

สุจิตรา ธนานันท์. (2548). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (human resource development). กรุงเทพมหานคร: ทีพีเอ็น เพรส.

สุมิตรา พงศธร. (2550). สรุปเรื่องของหลักสูตร. สภาการศึกษา. คาทอลิกแห่งประเทศไทย. 79, 15-23.

สุวิทย์ ยอดสละ. (2556). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อารี รังสินันท์. (2554). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ธนการพิมพ์.

Boone, M. (1992). The Impact of Leadership Behavior of the Superintendent onRestructuring Rural Schools. Texas : Abstracts from ERIC database : ERIC NO : 354115.

Erwin, P. (1993). The effects of teacher training on teacher performance and student achievement. Journal of Educational Research. 86 (5), 326-334.

Gerlach, V.S. and Ely, D.P. 1971. Teaching and Media: A Systematic Approach.New Jersey: Prentice-Hall.

Glaser, E. M. (1965). Critical Thinking Appraisal Manual. New York : Harcourt, Brace & World.

Kanaya, T., & McMillan., C. (2005). Facilitating Communities of Practice in Teacher Professional Development. Denmark : eLearning Lab, Aalborg University.

Klausmeier, H. J. and R. E. Ripple. (1971). Learning and Human Abilities: Educational Psychology. New York : Harper International Editions.

Nadler & Wiggs. (1989). แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. New York : Harper & Row.

Paziotopoulos, P., & Kroll, J. F. (2004). The effects of L1 proficiency on the processing of L2 words in bilinguals: Evidence from eye movements. Journal of Memory and Language. 51 (1), 62-83.

Roger, Carl R. (1970). Carl Roger on Encounter Group.

Tyler, R.W. (1950). Basic Principles of Curriculum Development and Instruction. Chicago : University of Chicago Press.