รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบผลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออก 2) ศึกษาสภาพการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบผลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออก 3) พัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบผลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออก 4) ประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบผลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาคตะวันออก ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 กลุ่มตัวอย่าง 369 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ขั้นตอนที่ 3 พัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา โดยสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบฯ โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน การสุ่มแบบเจาะจง สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ในการบริหาร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การบริหารเชิงกลยุทธ์ การทำงานเป็นทีม คุณธรรมจริยธรรม 2) สภาพการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) พัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา มี 2 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. การบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันของผู้บริหารสถานศึกษา มี 5 ด้าน ได้แก่ วิสัยทัศน์ในการบริหาร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การบริหารเชิงกลยุทธ์ การทำงานเป็นทีม และคุณธรรมจริยธรรม และ 2. กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การดำเนินการ การตรวจสอบ และการพัฒนาปรับปรุง 4) การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
จิติมา วรรณศรี. (2564). การบริหารจัดการศึกษายุคดิจิทัล. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
เจริญ ภูวิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: http://www.nidtep.go.th /2017/publish/doc.
บุญชุม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.
พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2562). เปลี่ยนมุมมองการบริหารองค์กรการศึกษาในโลก Disruptive. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (2), 248–256.
ภารดี อนันต์นาวี. (2564). องค์กรนวัตกรรมทางการศึกษา: การบริหารจัดการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ. 11 (2), 10-21.
ภารดี อนันต์นาวี. (2565). ผู้บริหารสถานศึกษา: ภาวะผู้นำดิจิทัล. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัย นอร์ทกรุงเทพ. 11 (2), 1-12.
ภารดี อนันต์นาวี และสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2565). การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบองค์กรนวัตกรรมทางการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารรัชต์ภาคย์. 16 (45), 487-504.
ภารดี อนันต์นาวี และสิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง. (2566). รูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในการ
บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 7 (4), 250-268.
ศศิมา สุขสว่าง. (2562). การพัฒนานวัตกรรมโดยใช้ Design Thinking. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: teachable.com/courses/author/290247.
ศิริยุพา รุ่งเริงสุข. (2561). เทคโนโลยีส่งเสริมภาวะผู้นำ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/ blogs/columnist/119074.
ศิรินนาถ ทับทิมใส, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ และ วรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง. (2564). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผัน. การประชุมวิชาการระดับชาติ. ครั้งที่ 8. (น.28-39).วิทยาลัยวิทยาลัยนครราชสีมา.
สุพริศร์ สุวรรณิก. (2564). โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังโควิด-19 จบลง?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/aticle/Page/ Areticle_30Mar2020.aspx.
สุภาภรณ์ นฤภัย และ ไพฑูรย์ โพธิสว่าง. (2564). การนำนโยบายการพัฒนาการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 - 2564) ไปปฏิบัติ. วารสารการเมือง การบริหาร และ กฎหมาย. 14 (2), 1-19.
สุรัตน์ จันทโช. (2566). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผันที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). รายงานการวิจัยการพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบ และกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิก.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิก.
อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษา. ที่พึงประสงค์ในบริบทที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 14 (2), 178-179.
อัญชลี ไหมทอง. (2565). การวิเคราะห์สมรรถนะผู้บริหารการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในยุคพลิกผัน. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
Bawany, S. (2018b). Identifying, Assessing and Selecting NextGen Leaders. New York: Expert
Insights Series by Business Express Press (BEP) Inc.
Deming, W.E. (2004). Out of the Crisis. U.S.A.: MIT center for Advanced Engineering Study.
FUTURISTNIDA. (2563). 3 ทักษะผู้นำที่ต้องปรับในยุค VUCA World. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://futurist.nida.ac.th/3-.
HULT International Business School (2018). THOUGHT LEADERSHIP Leading in a VUCA World. from https://www.hult.edu/blog/leading-in-a-vuca-world/.
International Society for Technology in Education: ISTE. (2009). National Education. Technology Standards for Administrators. https://www.hkedcity.net/antide/ec-hot-post/23apr10/.
Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.