ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา
2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 71 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงเป็นอันดับแรก ได้แก่ ด้านความยืดหยุ่นและการปรับตัว รองลงมาได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์และด้านการมีจินตนาการและคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ สู่ความคิดสร้างสรรค์ 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ ด้านการมีจินตนาการและคิดสิ่งใหม่ ๆ สู่ความคิดสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ซึ่งเสนอแนวทางในการพัฒนา คือ ผู้บริหารนำความรู้ที่่ได้ไปสร้างผลงานนวัตกรรมใหม่และเผยแพร่ผลงานของสถานศึกษา โดยแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย และผู้บริหารใช้เทคโนโลยี เพื่อนำเอาความรู้ที่ได้มาสังเคราะห์เป็นแนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารสถานศึกษา
Article Details
References
กิตติ์กาญจน์ ปฏิพันธ์, จักรกฤษณ์ โพดาพล และ วิลัยพรณ์ เสรีวัฒน์.(2556). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ : สิ่งที่ควรทำสำหรับทุกคนในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์คลังนานาวิทยา.
กุลภัสสร ป้องคำ.(2562). สมรรถนะหลักของผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2567. แหล่งที่มา: PowerPoint slides.SlideShare.http://ea.grad.ssru.ac.th/ useruploads/files/20200721/e0b9a270298cccdc67c3c278bac7511bddaa98e9.pdf.
ขวัญฤทัย ภู่สาระ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรี อยุธยา
เตือนใจ สุนุกุล. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี
ปทุมพร เปียถนอม. (2561). ภาวะผู้นำเต็มรูปแบบ:ปัจจัยสำคัญในการบริหารโรงเรียน ประชารัฐ.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).
รัตนาภรณ์ ชูรา และ สถิรพร เชาวน์ชัย. (2565). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (4), 280-294.
วิมล จันทร์แก้ว. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุภาพร โสภิณ. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตมหาวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรชน กิตติชนม์ธวัช อรชน. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. ฐานข้อมูลงานวิจัย (ThaiLis).