การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุของการเผชิญกับการข่มเหงรังแกของวัยรุ่นตอนต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุของการเผชิญกับการข่มเหงรังแกของวัยรุ่นตอนต้น 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเผชิญกับการข่มเหงรังแกของวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นตอนต้น ที่มีช่วงอายุ 13 – 15 ศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประกอบไปด้วย ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และ ภาคใต้ จำนวน 500 คน ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดแบบวัดปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการเผชิญกับการข่มเหงรังแก ประกอบไปด้วย แบบวัดต้นทุนทางจิตวิทยา มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 แบบวัดทักษะชีวิต มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 และแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเอง มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งชุด เท่ากับ 0.98 และ แบบวัดการเผชิญกับการข่มเหงรังแกของวัยรุ่นตอนต้น มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 โดยใช้การวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเส้น ผลการวิจัย พบว่า โมเดลเชิงสมมุติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีต่อการเผชิญกับการข่มเหงรังแกได้รับการส่งผลทางตรงจากต้นทุนทางจิตวิทยา โดยตัวแปรดังกล่าวมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางตรงเป็นบวกสูงสุด เท่ากับ 0.55 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทักษะชีวิตที่ส่งผลทางตรงเป็นบวกต่อการเผชิญกับการข่มเหงรังแก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.10 และความภาคภูมิใจในตนเองส่งผลทางตรงต่อการเผชิญกับการข่มเหงรังแก โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.09
Article Details
References
เบญจพร ตันตสูติ. (2562). เมื่อลูกถูกแกล้ง. กรุงเทพมหานคร: พราว โพเอท.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2556). โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling). กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.
สกล วรเจริญศรี. (2559). การข่มเหงรังแก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://ejournals. swu.ac.th/index.php/ENEDU/article/view/7818/7057
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. (2556). แนวทางการดูแลช่วยเหลือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมความรุนแรง. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดีน่าดู มีเดียพลัส จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ. (2562). มุมสะท้อนการบูลลี่. มุมมองสิทธิ์. 18 (7).
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2562). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2553). วัยรุ่นกับความรุนแรง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์วิชาการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). สถิตินักเรียนจำแนกตามสถานศึกษา ปีการศึกษา 2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: http://www.bopp.go.th/wp-content/uploads/2023/07/DMC661-1.xlsx
Aliyev, A. and Karakus M. (2015). The effects of positive psychological capital and negative feelings on students’ violence tendency. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 190 (15), 69-76.
Bajpai, A. and Pandey, A. (2022). Life Skills That Prevent Bullying Behaviour: A Review Along With Future Challenges. International Journal of Multidisciplinary Educational Research, 11 (2), 6-13.
Diamantopoulous, A., and Siguaw, A.D. (2000). Introducing LISREL: A guide for the unini tiated. London: Sage Publications.
Gordon, S. (2023, August 23). Signs and Effects of Workplace Bullying. Retrieved from https://www.verywellmind.com/what-are-the-effects-of-workplace-bullying-460628
Hu, L., & Bentler, M. P. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6 (1), 1-55.
Ibrahim, IA., Osman, ZH. and El-Gilany, AH. (2020). Nurses' Work Environment and Psychological Capital: Predictors of Workplace Bullying. Egyptian Journal of Health Care, 11 (3), 92-103.
Jannat, S. and Farooq, A. (2023). Bullying as Victimization: Coping Strategies as a Survival Mechanism Among Female School Teachers. Online. Retrieved from https://doi.org/10.33182/rr.vx9il.58
Luthans, F. and Youssef-Morgan, C. (2017). Psychological Capital: An Evide nce-Based Positive Approach. Online. Retrieved from https://www.annualreviews.org/ doi/full/ 10.1146/annurev-orgpsych-032516-113324
Maji, S., Bhattacharya, S. and Ghosh, D. (2016). Cognitive Coping and Psychological Problems among Bullied and Non-bullied Adolescents. Journal of Psychosocial Research, 11 (2), 389-398.
Ohlin, B. (2017, 7 Jun). Psycap 101: Your Guide to Increasing Psychological Capital. Retrieved from https://positivepsychology.com/psychological-capital-psycap/
Parris, L., Varjas, K., Henrich, C., and Meyers, J. (2011). Coping with Bullying Scale for Children. Atlanta, GA: Georgia State University.
Saimon, Y., Doi, S. and Fujiwara, T. (2022). No moderating effect of coping skills on the association between bullying experience and self-esteem: Results from K-CHILD study. Online. Retrieved from https://doi.org/10.3389/fpsyg.2022.1004482
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling (3rd ed.). New York: Routledge.
Xie M. and Su, C. (2022). Bullying victimization and depression among left-behind adolescents in China: Mediating role of self-esteem. Social Behavior and Personality an International Journal, 50 (4), 1-9.