แนวทางการส่งเสริมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธุ์โคราช ในเขตอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ศิริกมล ประภาสพงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธุ์โคราชในเขตอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธุ์โคราชในเขตอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน โดยงานวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธ์คราชรายเล็กและรายใหญ่ จำนวน 5 คน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 20 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์แบบอุปนัย และวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
          1) สภาพปัจจุบันของผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธุ์โคราชรายเล็กมีการจำหน่ายไก่ให้กับพ่อค้าคนกลาง หาตลาดส่งเอง มีกลุ่มลูกค้าเดิมและลูกค้าใหม่จากการบอกต่อ ราคาไก่ผันผวน ระบบบริหารจัดการฟาร์มไม่ได้มีมาตรฐานตามปศุสัตว์  มีการส่งเสริมการตลาดเองและมีหน่วยงานราชการเชิญไปร่วมแสดงสินค้าตามเทศกาล ผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธุ์โคราชรายใหญ่ ระบบบริหารจัดการฟาร์มมีมาตรฐาน ทำข้อตกลงรับชื้อกับบริษัทรายใหญ่ ส่งภัตตาคาร โรงแรมชั้นนำ ห้างสรรพสินค้าที่เป็นคู่ค้ากันมาหลายปี
          2) แนวทางการส่งเสริมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธุ์โคราชทั้งรายเล็กและรายใหญ่มีความต้องการส่งเสริมเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการเลี้ยงไก่สายพันธุ์โคราชอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งจะทำให้ฟาร์มมีผลิตภัณฑ์ที่ดีมีมาตรฐานเพิ่มขึ้น มีช่องทางการจำหน่ายที่กว้างและหลากหลายมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการรายเล็กจนถึงรายใหญ่อยากให้มีการส่งเสริมการขาย/การสร้างการรับรู้ ที่ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์. (2564). จำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในจังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: สำนักงานปศุสัตว์สุรินทร์.

เฉลิมชัย หอมตา. (2563). การศึกษาสภาพการเลี้ยงไก่เนื้อโคราชของเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่

เนื้อโคราชมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี สุรนารี.

ธนิดา อัศวโยธิน. (2560). การตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประภาพร ขอไพบูลย์ และคณะ. (2560). การสร้างและปกป้องพันธุกรรมไก่พื้นเมืองของไทย เพื่อความมั่นคง

อาหารและเสริมสร้างอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

วรนันท์ สุวรรณปิฎกกุล และชุติมา ไวศรายุทธ์. (2554). แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของผู้ประกอบการด้านอาหารขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย. 16 (3), 76-88.

ศูนย์วิจัยกรุงศรีอยุทธยา. (2566). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2566-2568: อุตสาหกรรมไก่แช่เย็น แช่แข็ง และแปร รูป. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: www.https://www.krungsri. com/th/research/industry/industry-outlook/food-beverage.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2567). สถานการณ์ไก่เนื้อและมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่ของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.kasikornresearch.com/th.

อมรรัตน์ โมฬี และคณะ. (2555). การสร้างสายพันธุ์ "ไก่เนื้อโคราช" เพื่อการผลิตเป็นอาชีพวิสาหกิจชุนชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยนวัตกรรม.