การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น ก่อนและหลังการเรียนรู้เชิงรุก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น หลังจากที่ได้รับการเรียนรู้เชิงรุกกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนหลัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ได้คะแนนเฉลี่ย 16.09 คะแนน สูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง หลักการนับเบื้องต้น หลังได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ได้คะแนนเฉลี่ย 16.09 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 80.45 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ภาพรวมความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก มีคะแนนเฉลี่ย 3.94 ซึ่งอยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
เชิดศักดิ์ ภักดีวิโรจน์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และความเชื่อมั่นในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภาพร สว่างอารมณ์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปราณี แก้วมา. (2563). การศึกษาการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบ Active Learning ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1-3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 1. การศึกษาค้นคว้าการฝึกประสบการณ์นิเทศการศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตาก เขต 1
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนัขพร ชมชื่นใจ สมวงษ์ แปลงประสพโชค และกฤษณะ โสขุมา. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เรื่อง อัตราส่วน สัดส่วน และร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยรำไพพรรณี. 16 (2), 102-108.
วีรยุทธ ด้วงใย (2566 : 119-135). ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา โดยใช้การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.วารสารออนไลน์ Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (1), 119-135.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2562). รายงานประจำปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2563). รายงานประจำปี พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน). (2564). รายงานประจำปี พ.ศ. 2562.กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน).
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร.
สุนทรา ศรีวิราช. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ เพื่อเสริมสร้างการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ศศ.ม.(วิทยาศาสตรศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภมิต จันดีวงษ์. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ ของนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า นนทบุรี อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารออนไลน์. บัณฑิตวิทยาลัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง Hit 682.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดกาเรียนรู้เชิงรุก (Active learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาเรียนรู้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: http://academic.obec.go.th/images/document/160318 0137_d_1.pdf
อิทธิเดช น้อยไม้ และ ณัฐวรรณ เฉลิมสุข.(2566). เสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก. ครุศาสตร์สาร. 17 (1), 13-23.
Cambridge Assessment International Education. (2022 A). Active Learning. Online. Retrieved from https://www.cambridgeinternational.org/Images/271174-active-learning.pdf
Cronbach, L. J. (2004). My current thoughts on coefficient alpha and successor procedures. Educational and Psychological Measurement. 64, 391–418.
Suherman, A. (2011). Active Learning to Improve Fifth Grade Mathematics Achievement in Banten. Excellence in Higher Education. 2 (2), 103-108.