ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ดำรงค์ ทองศรี
โชติ บดีรัฐ
ศรชัย ท้าวมิตร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอย 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ 3. แนวทางในการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จำนวน 14,705 หลังคาเรือน มีประชากร 30,637 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 ครัวเรือน ๆ ละ 1 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง 390 คน
           ผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ มีผลการดำเนินงานเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ มี 3 ปัจจัย คือ 1. ความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอย 2. ทัศนคติต่อการจัดการขยะมูลฝอย และ 3. พฤติกรรมในการจัดการขยะมูลฝอย แนวทางในการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ใช้รูปแบบ “UTTARA Model ” ซึ่งมีแนวทาง 6 ด้าน คือ 1. การกระตุ้นให้ร่วมมือจัดการขยะมูลฝอย (Urge) 2. การคัดแยกขยะมูลฝอย (Trash Distinguish) 3. การเก็บขนขยะมูลฝอย (Transport) 4. การฝังกลบขยะมูลฝอย(Action Landfill) 5. การกำจัดขยะมูลฝอย (Rid Waste) 6. การแต่งตั้งคณะทำงานด้านขยะมูลฝอย (Appoint) และเงื่อนไขความสำเร็จ 2 เงื่อนไข ได้แก่ 1. ความตั้งใจของฝ่ายบริหารและฝ่ายปฏิบัติการทุกระดับ 2. ความร่วมมือของภาคีเครือข่ายและแกนนำภาคประชาชนในพื้นที่  จากการตรวจสอบรูปแบบฯ พบว่ารูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ตามแนวทาง UTTARA Model มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และ มีความเป็นประโยชน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2563). สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://www.pcd.go.th/pcd_news/11873/.

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). รายงานประจำปี 2564 กรมควบคุมมลพิษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขานุการกรมกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2562). มาตรฐานการจัดการขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

กรมอนามัย. (2564). รายงานผลการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย รอบ 6 เดือนแรก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564). กรุงเทพมหานคร: กองแผนงาน กรมอนามัย.

กองบรรณาธิการข่าว THE STANDARD. (2562). สถานการณ์ขยะโลกกับประเทศที่ผลิตขยะมากที่สุดในโลกขณะนี้. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://thestandard.co/garbage-situation/.

จตุพร ไกรกิจราษฎร์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

จารุวัฒน์ ติงหงะ. (2561). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการขยะมูลฝอย ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. 14 (2), 91-120.

ฐิติมา สุจินพรัหม. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะพลาสติกของบุคลากรในหน่วยงานพื้นที่เทคโนธานี ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวงจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม). คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พัชรี สินเจริญ. (2562). การจัดการขยะมูลฝอย : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลบางขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขารัฐประศาสนศาสตร). คณะรัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). อุดรธานี: อักษรศิลป์การพิมพ์.

สันชัย พรมสิทธิ์. (2562). การจัดการขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 9 (1), 67-81.

สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์. (2564). รายงานสถานการณ์และปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์ ปี 2564. อุตรดิตถ์: ส่วนสิ่งแวดล้อมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุตรดิตถ์.

สำนักปลัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์. (2564). ข้อมูลสารสนเทศเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ ประจำปี 2564. สำนักปลัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์.

สุภัคชัย บดิการ. (2561). แนวทางในการจัดการขยะมูลฝอย ของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัด

นครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาปรัชญาศาสนา). คณะพุทธศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Likert, R. A. (1932). Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological. 25 (140), 1–55)