การจัดการห่วงโซ่คุณค่าของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บนฐานของวิถีชีวิตเกษตรกรรูปแบบใหม่ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

เพ็ญพักร์ศิณา วิเชียรวรรณ
มงคลชัย บุญแก้ว
รุ่งนภา เลิศพัชรพงศ์
วริษฐา แก่นสานสันติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากิจกรรมของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บนฐานของวิถีชีวิตเกษตรกรรูปแบบใหม่ จังหวัดนครนายก ดําเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เครื่องมือการวิจัยโดยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ในการสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ไปยังผู้ให้ข้อมูลหลัก จํานวน 46 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยว เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำจังหวัด เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร รวมทั้งนักท่องเที่ยว ซึ่งใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ตลอดจนมีการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต บทความหนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกสารต่าง ๆ ที่เป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ แล้วนํามาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ
          ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการห่วงโซ่คุณค่ากิจกรรมของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร บนฐานของวิถีชีวิตเกษตรกรรูปแบบใหม่ ได้แก่ 1. การออกแบบกิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร โดยการการบูรณาการด้านการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ การเชื่อมโยงข้อมูลกิจกรรมของแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร แก่ผู้มาเยือนที่อาจไม่ได้มาเที่ยวโดยตรง แต่มาซื้อของ มาดูการสาธิตการเกษตร การปลูกผักผลไม้ สำหรับประเภทการท่องเที่ยวแบบการเยี่ยมชมหรือแวะซื้อผลิตภัณฑ์ระหว่างเส้นทางท่องเที่ยว รวมทั้งสำหรับประเภทท่องเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ 2. ความสามารถของผู้ปฏิบัติงานสามารถอธิบายกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรรูปแบบการสาธิต และการให้ความรู้แหล่งท่องเที่ยว มีการเตรียมขั้นตอนต่าง ๆ ของการผลิตทั้งวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์ เพื่อสาธิตต่อนักท่องเที่ยวที่เยี่ยมชมกิจกรรมท่องเที่ยว 3. กระบวนการให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ความแน่นอนในการจัดการเวลา ความยืดหยุ่น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เกี่ยวกับโปรแกรมโดยละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินการทำให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจโดยให้คุณค่าเพิ่มเติมแก่สถานที่ท่องเที่ยวที่เยี่ยมชม 4. บริการหลังการขายเป็นบริการที่ใช้ในการเพิ่มหรือรักษามูลค่าเพิ่มของบริการท่องเที่ยว  ได้แก่ ความพึงพอใจและความไม่พอใจของนักท่องเที่ยวกับแหล่งการท่องเที่ยวเชิงเกษตร การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการติดตามความพึงพอใจหลังรับบริการ ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2565). แผนพัฒนาบริการท่องเที่ยว พ.ศ. 2566 – 2570. กรุงเทพมหานคร: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมส่งเสริมเสริมการเกษตร. (2562). เอกสารรวบรวมองค์ความรู้การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร.กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร.

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). แผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการเกษตร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579).กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร.

เบญจวรรณ ใสหวาน, ประกอบ ใจมั่น และ กิตติกร สุนทรานุรักษ์. (2562). การจัดการความรู้เพื่อสร้างคุณค่าแลมูลค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชนสาหรับวิสาหกิจชุมชน. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภันครศรีธรรมราช. 11 (2), 137-147.

ศิริพงษ์ อุ่นทรพันธุ์ และสัมพันธ์ พลภักดิ์. (2561). การบริหารจัดการการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ชุมชนของจังหวัดนครนายกตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 11 (2), 441-455.

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครนายก. (2563). แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัดนครนายก(พ.ศ. 2561 – 2565) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.opsmoac.go.th/ nakhonnayok-strategic-files-421391791819

สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครนายก. (2564). ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดนครนายก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคา 2566. แหล่งที่มา http://ww2.nakhonnayok.go.th.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

Ven Veota Vongpadith. (2566). แนวทางการพัฒนาเกษตรกรไทยสู่การเป็นเกษตรกรอัจฉริยะในยุคไทยแลนด์ 4.0 บ้านลำแดง ตำบลหันตะเภา อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. 8 (1), 70-85.

Aimin and Shunxi. (2011). A Model of Value Chain Management Based on Customer Relationship Management. Journal on Innovation and Sustainability RISUS. 2 (3), 17-38.

Katherine L. Adam. (2004). Entertainment Farming and Agri-Tourism. National Sustainable Agriculture Information Service. Online. Retrieved 26 December 2023. Source https://www.pickyourown.org/resources/Entertainment%20Farming%20and%20Agri-Tourism%20Business%20Management%20Guide.pdf

Luis, M., Alma, L.C.G., Anna, C.B.V., &Imelda, C.M. (2020). Value chain for agritouris mproducts. Journal on Open Agriculture. 5 (1), 768-777.

Mansor, N., Rashid, M. K., Mohamad, Z., & Abdullah, Z. (2015). Agro Tourism Potential in Malaysia. International Academic Research Journal of Business and Technology. 1 (2), 37-44.

Mezmir, E. A. (2020). Qualitative data analysis: An overview of data reduction, data display, andinterpretation. Research on humanities and social sciences. 10 (21), 15-27.