ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก

Main Article Content

นันทพันธ์ คดคง
ภาสกร ดอกจันทร์
กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะของกำนันผู้ใหญ่บ้าน 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน และ 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยเก็บกลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสอบถามคือกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตจังหวัดพิษณุโลก จำนวน 300 คน และกลุ่มตัวอย่างจากการสัมภาษณ์ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก นายอำเภอทั้ง9 อำเภอ และกำนันผู้ใหญ่บ้าน แหนบทองคำจำนวน 10 คน รวม 20 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า  1.ระดับการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตจังหวัดพิษณุโลก ทั้งหมด 7 ด้าน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องถิ่น พ.ศ.2457 พบว่า ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาภาวะของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตจังหวัดพิษณุโลก และ3. ข้อเสนอแนะต่อแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก จากการสัมภาษณ์พบว่า การปฏิบัติหน้าที่องกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจังหวัดพิษณุโลกมีความร่วมมือ ประสานกันในพื้นที่กันพอสมควร แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของกำนันผู้ใหญ่บ้านในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก คือ การเพิ่มศักยภาพในเรื่องการจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหาร พร้อมทั้งมีการปรับตัวให้เข้ากับนโยบายของกระทรวง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กลุ่มงานปกครอง ที่ทำการปกครองจังหวัดพัทลุง. (ม.ป.ป.) การจัดระดับการกำกับดูแลองค์กรภาครัฐ ตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. ม.ป.ท.

ชัยธวัช เนียมศิริ. (2560). ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพในยุค Thailand 4.0 นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2560 – 2561.

พิชยุตม์ อินทะเสน, จุฑามาส ชมผม และ มาลี ไชยเสนา. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของกำนันผู้ใหญ่บ้าน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

มานิตย์ มัลลวงค์. (ม.ป.ป.). เทคนิคการจัดการสมัยใหม่ (Modern Management).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). คู่มือการฝึกอบรมวิทยากรกระบวนการเพิ่มศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้านระดับอำเภอ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

อภิชาติ เทพชมภู. (2553). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในเขต อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เอมอร แสนภูวา. (2559). บทบาทของผู้นำชุมชนในการมี ส่วนร่วมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา กรณีศึกษาอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. ออนไลน์. วันที่ค้นข้อมูล: 15 พฤศจิกายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=http.

Bass, B.M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York : The Free Press.

Carrasco, J. (2011). How communication and leadership affect collaboration in a partnership: An exploratory study. (1494021 M.A.), Gonzaga University, Ann Arbor. Retrievedfromhttp://search.proquest.com/docview/875239928?accountid=46528 ProQuest Dissertations & Theses Global database.

Hilmi, A, Ali, C., & Nihal, C. (2016). Herzberg's motivation-hygiene theory applied to high school teachersin Turkey. Europeyn Joural of Muttidisciplinary Studies. 1 (4)90-97

Yamane, T. (1990). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.