การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องงานแกะสลักเพื่อธุรกิจสำหรับนักศึกษา สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย

Main Article Content

ขนิษฐา รอดทรัพย์
กีรติญา สอนเนย
วิรัชยา อินทะกันฑ์
ศรีไพร พรมชาติ
จิราพัทธ์ แก้วศรีทอง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อมัลติมีเดียเรื่องงานแกะสลักเพื่อธุรกิจสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย 2) หาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเรื่องงานแกะสลักเพื่อธุรกิจที่พัฒนาขึ้นให้มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียเรื่องงานแกะสลักเพื่อธุรกิจ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อมัลติมีเดียเรื่องงานแกะสลักเพื่อธุรกิจ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย ที่ลงทะเบียนเรียนภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 15 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สื่อมัลติมีเดียเรื่องงานแกะสลักเพื่อธุรกิจ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test  ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้สื่อมัลติมีเดียงานแกะสลักจำนวน 4 เรื่อง ได้แก่ การแกะสลักประเภทใบ ประเภทผล ประเภทดอก และประเภทจัดตกแต่ง 2) ประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียมีค่าเท่ากับ 82.95/81.77 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียน (Mean = 24.53, S.D. = 1.59) สูงกว่าก่อนเรียน (Mean = 17.53, S.D. = 1.84) แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่สถิติที่ .05 และ 4) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อสื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.46, S.D. = 0.16)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คนึงนิจ กัณหะกาญจนะ. (2554). ศิลปะการแกะสลักผักและผลไม้. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 6-20.

ชิษณุพงศ์ ธัญญลักษณ์ และดลพร ศรีฟ้า. (2559). การประยุกต์ใช้โปรแกรมสื่อประสม. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.

ธนัช ศรีพนม, อัคครัตน์ พูลกระจ่าง และทรงธรรม ดีวาณิชสกุล. (2567) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้จากการทํางานเป็นฐานสําหรับจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9 (3), 1-20.

นันทินี นักดนตรี. (2566). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้เรื่อง เครื่องดำเนินทำนองหลักในวงปี่พาทย์ไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พิสณุ ฟองศรี. (2554). วิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์.

เพชรา บุดสีทา. (2564). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะทางสาขาวิชาชีพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2567. แหล่งที่มา https://fms.kpru.ac.th/pr-all/pr-km/pr-km-2560/4908/https://fms.kpru.ac.th/pr-all/pr-km/pr-km-2560/4908/

ยุทธ์ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

สิริกานต์ อํานวยศิริ และ จอมขวัญ สุวรรณรักษ์. (2565). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่องการแกะสลักพื้นฐาน:ชุดผลไม้พร้อมรับประทาน วิชาการงานอาชีพ. Journal of MCU Peace Studies. 10 (2), 831-843.

สำนักอาชีวศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพ. (2563). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2563.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สุดากาญจน์ แยบดี (2566). ผลสัมฤทธิ์การใช้สื่อออนไลน์วิธีถอดลายผ้าทอจากตัวอย่างผ้าทอพื้นเมืองของจังหวัดสุรินทร์. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (12), 655-662.

อนิรุธ แจ่มพลาย และ อุไรวรรณ ศรีไชยเลิศ. (2565). การพัฒนาสื่อช่วยสอนมัลติมีเดียร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิชาการออกแบบและเทคโนโลยีระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14. 7 – 8 กรกฎาคม 2565. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม.

Gagne, R. M., Wager, W. W., Goals, K., & Keller, J.M. (2005). Principles of instructional design. (5th ed.). Thomson/Wadsworth.

Shih-Jou Yu, Yu-Ling Hsueh, Jerry Chinh-Yuan Sun, Hao-Ze Liu. (2021). Developing an intelligent virtual reality interactive system based on the ADDIE model for learning pour-over coffee brewing. Computers and Education: Artificial Intelligence. 2, 1-10

Wenhui, D & Ling, F. (2012). Discussion about the Pros and Cons and Recommendations

for Multimedia Teaching in Local Vocational Schools. International Conference on Medical Physics and Biomedical Engineering. 1144 – 1148.