แนวทางการจัดการเพื่อคุณภาพสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษามีบทบาทสำคัญในการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันของประเทศซึ่งสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนเป็นองค์กรที่มีความสำคัญในการแบ่งเบาภาระของรัฐด้านการจัดการศึกษาให้เยาวชน การได้รับทราบถึงคุณภาพของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนการพัฒนาประเทศ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน 2) เปรียบเทียบคุณภาพสถานศึกษา จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะองค์กร 3) ศึกษาปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อคุณภาพสถานศึกษา และ 4) นำเสนอแนวทางการจัดการเพื่อคุณภาพสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 250 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการ และผู้บริหารสถานประกอบการ จำนวน 19 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จัดการคุณภาพโดยรวมได้ในระดับมาก และพบปัญหาด้านจำนวนผู้เรียนและคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษา 2) คุณภาพของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนแตกต่างกันตามระยะเวลาเปิดดำเนินการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 3) ปัจจัยด้านบุคลากร ด้านเงินทุน และด้านการจัดการ ส่งผลต่อการจัดการคุณภาพสถานศึกษาโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และสามารถร่วมกันอธิบายคุณภาพสถานศึกษา ได้ร้อยละ 35.40 และ 4) แนวทางการจัดการเพื่อคุณภาพสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ดำเนินการได้โดยการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ คำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงาน ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการให้เกิดระบบทวิภาคีเพิ่มมากขึ้น มุ่งพัฒนาสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีให้สามารถใช้ในการจัดการและการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทุกระดับให้มีทักษะในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
Article Details
References
จอมพงศ์ มงคลวานิช และ จิดาภา ถิรศิริกุล. (2561). การบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธงชัย สมบูรณ์ และคณะ. (2565). การจัดการอาชีวศึกษาระหว่างประเทศไทยกับประเทศเยอรมนี: การศึกษาเปรียบเทียบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.
เบญจวรรณ ศรีคำนวล และ คณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (2), 2535-2548.
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI). (2560). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: http://tdri.or.th/2016/08/vocational-education-reform.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2566). แผนติดตามการขับเคลื่อนการจัดการอาชีวศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. กรุงเทพมหานคร: กลุ่มติดตามและรายงานผล สำนักติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.(2561). มาตรฐานการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล. (2565). เดลินิวส์. การศึกษา. คลี่ปัญหาอาชีวศึกษาไทย. คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูป การศึกษา (กอปศ.). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2565. แหล่งที่มา: https://d.dailynews.co.th/ education/632314/.
Khusaini, K. (2021). The Productivity of Vocational Schools: The Role of Efficiency, Fairness, Transparency and Accountability of Financial Management. Department of Accounting, Economy, University Budi Luhur, Jakarta.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.