การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ ฐานสมรรถนะวิทยาศาสตร์

Main Article Content

พินิจนันท์ เนื่องจากอวน
กันตพัฒน์ กิตติอัชวาลย์
สุดารัตน์ ขัดสาย
ดวงใจ บุญกุศล

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเพิ่มศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะวิทยาศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรเพิ่มศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะวิทยาศาสตร์ของครูผู้สอน กลุ่มเป้าหมายในการหาประสิทธิภาพของหลักสูตร ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 จำนวนทั้งสิ้น 37 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หลักสูตรการเพิ่มศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะวิทยาศาสตร์ 2) แบบประเมินความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะวิทยาศาสตร์ของครูที่เรียนจบหลักสูตร 3) แบบประเมินความพึงพอใจ พฤติกรรมของครู และผลลัพธ์เกี่ยวกับสมรรถนะของครูที่เรียนจบหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
          1. ผลการพัฒนาหลักสูตรโดยการพิจารณาความเหมาะสมและความสอดคล้องผลปรากฏว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับดี (ค่าเฉลี่ย = 4.33, S.D. = 0.55) และมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
          2. ผลการประเมินครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.74, S.D. = 0.48) ผลการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ พฤติกรรมของครู และผลลัพธ์เกี่ยวกับสมรรถนะของครูที่เรียนจบหลักสูตรการเพิ่มศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะวิทยาศาสตร์ของครูอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 4.71 ± 0.52, 4.72 ± 0.49 และ 4.74 ± 0.48 ตามลำดับ
          หลักสูตรการเพิ่มศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะวิทยาศาสตร์นี้จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญนำมาใช้ในการพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ มีความรู้ในธรรมชาติวิทยาศาสตร์ มีจิตวิทยาศาสตร์ สามารถบูรณาการความรู้ธรรมชาติวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ และทักษะการสอนวิทยาศาสตร์แห่งวิชาชีพไปสู่การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ฐานสมรรถนะ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดสมรรถนะในวิชาวิทยาศาสตร์ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

เพ็ญศิริ โฉมกาย. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะด้านคุณลักษณะของบัณฑิตนักปฏิบัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก. Journal of Education Naresuan University. 21 (2), 189-200.

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2549). การพัฒนาวัฒนธรรมการประเมินการเรียนการสอนของครู: การฝึกอบรมโดยใช้ โรงเรียนเป็นฐาน ด้วยการสร้างเครือข่ายและการคิดสะท้อนอภิมาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิไลวรรณ สิทธิ. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการ เรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย หลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สันต์ ศูนย์กลาง. (2551). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเสริมสร้างทักษะการปฏิบัติวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียนแบบองค์รวม สำหรับครู ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ครูยุคใหม่สู่การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.ipst.ac.th/news/12598/ teacher_ipst.html

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). รายงานความก้าวหน้าการจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ปี 2552- 2553. กรุงเทพมหานคร.

Kemmis, S, & Tagart, Mc.. (1990). The Action Research Planner. Geelong : Deakin University Press.

Kwakman, K. (2003). Factors affecting teachers participation in professional learning activities. Teacher and Teacher Education. 19, 149-170.

Oliva, P .F.. (2001). Developing the Curriculum (Fifth Edition), United States: Longman.

Treffinger, D. J. (2007). “Creative Problem Solving (CPS) in Education. Creative Learning Today.15 (3), 7.

Tyler, R. W. (1971). Basic principles of curriculum and instruction, Chicago: The University of Chicago Press.

Unesco. (1986). School based in-service training: a handbook. Bangkok: UNESCO Regional Office for Education in Asia and the Pacific.