คุณภาพการให้บริการขนส่งของรถสามล้อไฟฟ้า MUVMI และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

นพวรรณ สุขสกุณี
ศุภสิทธิ์ จารุพัฒน์หิรัญ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการขนส่งของรถสามล้อไฟฟ้า MUVMI และรถจักรยานยนต์สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการขนส่งของรถสามล้อไฟฟ้า MUVMI และรถจักรยานยนต์สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ประเภทการวิจัยเชิงสำรวจ และใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งมีค่า IOC เท่ากับ 1.00 เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-Test ในการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการขนส่งของรถสามล้อไฟฟ้า MUVMI และรถจักรยานยนต์สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร โดยผลการวิจัย พบว่า การให้บริการขนส่งของรถสามล้อไฟฟ้า MUVMI และรถจักรยานยนต์สาธารณะในเขตกรุงเทพมหานคร มีคุณภาพการให้บริการทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ด้านความน่าเชื่อถือไว้วางใจในการบริการ ด้านการตอบสนองต่อผู้ใช้บริการ ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้ใช้บริการ และด้านการดูแลเอาใจใส่ต่อผู้ใช้บริการ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ ศิริเกษ และ มานะ ลักษมีอรุโณทัย. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรถขนส่งสาธารณะระดับ Microtransit ของผู้เดินทางในกรุงเทพมหานคร: กรณีศึกษา รถสามล้อไฟฟ้า

MuvMi. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์. 5 (3), 303-320

โชติมา ชูกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่นเรียกรถยนต์โดยสารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐานเศรษฐกิจ. (2567). “กรมขนส่ง” เปิดสถิติ 10 ข้อหาร้องเรียนรถสาธารณะ จ่อเพิกถอนใบขับขี่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567. แหล่งที่มา https://www.thansettakij.com/news/general-news/586292

เดลินิวส์. (2566). รายงานล่าสุด WHO คนไทยตายอุบัติเหตุถนน 18,218 ราย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567. แหล่งที่มา https://www.dailynews.co.th/news/3007242/

ทิพวรรณ พุ่มมณี และคณะ. (2556). ธุรกิจบริการเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เมธี ทองคำ. (2555). วินมอเตอร์ไซค์ เป็นมาอย่างไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2567. แหล่งที่มา https://www.gotoknow.org/posts/66670

รตีทิพย์ เสริมสิริมน. (2560). อิทธิพลของคุณภาพการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการขนส่งมวลชนของลูกค้าบริษัท X จำกัด ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศราวุฒิ สุขเกษม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการรถรับจ้างสาธารณะผ่านทางแอปพลิเคชันของกลุ่มคน วัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สาวิตรี คงด้วง. (2562). ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการสร้างความพึงพอใจในการใช้บริการรถไฟฟ้าสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) สถานีตลาดบางใหญ่. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรภา เอมสกุล และธนัสถา โรจนตระกูล. (2566). คุณภาพการให้บริการของสำนักทะเบียนอำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร ตามแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7 (7), 1-13

อาภาภรณ์ นิยมธรรม. (2559). คุณภาพการบริการที่มีผลต่อความภักดีของลูกค้าธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) สาขาโอเชี่ยนชุมพร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อารีรัตน์ ศรีทับ. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรถโดยสารปรับอากาศประจำทาง ของผู้โดยสารสถานีขนส่งผู้โดยสารในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครนิทรวิโรฒ.

Bitner, M.J., & Hubbert, A.R. (1994). Encounter Satisfaction Versus Overall Satisfaction Versus

Quality. In R.T. Rust & R.L. Oliver (Eds.). Service Quality: New Directions in Theory and Practice. Thousand Oaks, CA: Sage

Field, A. (2005). Discovering statistics using SPSS (2nd ed.). Thousand Oakes CA: Sage.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York: McGraw-Hill.

Parasuraman, A., Zeithaml, Valarie A. and Berry, Leonard L. (1988). SERVQUAL: A Multiple – Item Scale for Measuring Consumer Perceptions of Service Quality. Journal of Retailing. 64 (1), 12-40.

Pitchaya, (2023). ระบบขนส่งสาธารณะกรุงเทพติดอันดับ 39 ของโลก คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกและเอเชียแปซิฟิก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://brandinside.asia/ bangkok-ranked-39-in-public-transit-index-2022/

The Story Thailand. (2566). ส่องความสำเร็จ “มูฟมี” รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้า 100% สัญชาติไทย ‘ปัญหาจราจรในเมือง แก้ได้จากการใช้ขนส่งมวลชน’. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2567. แหล่งที่มา https://www.thestorythailand.com/16/01/2023/87878/