การประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารและกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของบุคลากรทางการแพทย์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี

Main Article Content

ชัชนันท์ ปู่แก้ว
สร้อยสุดา เกสรทอง
นนท์ธิยา หอมขำ

บทคัดย่อ

          การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร และประเมินความชุกของกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคาร 3 พารามิเตอร์ (1) พารามิเตอร์สภาวะน่าสบายเชิงอุณหภาพ  (2) พารามิเตอร์ด้านเคมี และ (3) พารามิเตอร์ด้านชีวภาพ จำนวน 58 พื้นที่ ได้จากการคำนวณตามขนาดพื้นที่ของแต่ละห้องปฏิบัติงาน เก็บตัวอย่างด้วยเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและเครื่องเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ในอากาศร่วมกับการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 176 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ร่วมกับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด
          ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพอากาศภายในอาคารมีค่าเกินมาตรฐาน โดยพารามิเตอร์ที่เกินค่ามาตรฐานมากที่สุด คือ ก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ รองลงมา คือ อนุภาคที่มีขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน และความเร็วลม ร้อยละ 93.1, 87.9 และ 82.7 ตามลำดับ 2) พบความชุกของกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 26.7 และพบกลุ่มอาการทางโรคประสาทมากที่สุด ร้อยละ 18.8 บุคลากรทางการแพทย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 81.8 มีระยะเวลาที่ทำงานในอาคาร 10.69±10.23 ปี ปฏิบัติงานในอาคาร
ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 88.5 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถให้ข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนเชิงกลยุทธ์เกี่ยวกับการปรับปรุงและการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารของโรงพยาบาลเพื่อลดการเกิดกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของบุคลากรทางการแพทย์


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2565). ประกาศกรมอนามัย เรื่อง ค่าเฝ้าระวังคุณภาพอากาศภายในอาคารสาธารณะ พ.ศ. 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://laws.anamai.moph.go.th/th/

practices/download/?did=211864&id=99012&reload=

ดำรงศักดิ์ ร่มเย็น. (2557). ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารของผู้ปฏิบัติงานพยาบาลในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พรพรรณ สกุลคู และ คณพศ แต่งเมือง. (2561). ปริมาณและชนิดของเชื้อแบคทีเรียในอากาศจากกิจกรรมการให้บริการหลักในคลินิกทันตกรรม กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมชน. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 25 (1), 12-22.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. (2564). เพราะ “คุณภาพอากาศภายในอาคาร” เป็นสิ่งสำคัญ.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: https://shorturl.asia/lXMTO

ยมนา จรรยา. (2559). ความชุกและปัจจัยที่มีผลกับการเกิดกลุ่มอาการโรคจากการทำงานในตึกของผู้ที่ทำงานในอาคารสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ. (2565). อัตราการใช้บริการผู้ป่วยนอก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=9d8c311d633

d40437c4423508cad&id=92a705c26f22754d7462e9f742436b6f

สร้อยสุดา เกสรทอง. (2549). SBS โรคจากการทำงานในตึก. ใกล้หมอ.

สาธินี ศิริวัฒน์, กฤษณา นาสูงชน, และ ฐิติรัช งามฉมัง. (2565). การประเมินคุณภาพอากาศภายในอาคารและกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารของผู้ปฏิบัติงานในอาคารใหม่ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ. 15 (1), 161-172.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). 5 สถิติสุขภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx

สุภิญญา สาลีรอด, เสาวลักษณ์ บุญจง และ บุษยา จูงาม. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเจ็บป่วยจากอาคารของพนักงานสำนักงานก่อสร้างแห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8, มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อนุสสรา ฤทธิ์วิชัย และ ณภัควรรต บัวทอง. (2560). กลุ่มอาการป่วยเหตุอาคารและความเครียดของพนักงานที่ปฏิบัติงานในอาคารสำนักงาน. เวชศาสตร์ร่วมสมัย. 61 (4), 525-538.

อารุญ เกตุสาคร. (2565). กรณีตัวอย่าง : เทคนิคการจัดการปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยใช้หลักการระบายอากาศ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ACGIH. (2023). Threshold Limit Values for Chemical Substances and Physical Agents & Biological Exposure Indices. American Conference of Governmental Industrial Hygienists Publisher.

Akova, I., Kiliç, E., Sümer, H., & Keklikçi, T. (2020). Prevalence of sick building syndrome in hospital staff and its relationship with indoor environmental quality. International Journal of Environmental Health Research. 32, 1204 - 1219.

Awang, M. F., Md Zaini, R., Abdul, N. A., Mat Tahir, M. R., Baharuddin, A., Husin, S. N. H., Ahmad, N., Nik Ibrahim, N. L., & Abd Hamid, H. H. (2023). Assessing Indoor Air Quality and Sick Building Syndrome in Public University Buildings: A Cross-Sectional Study of Office Worker Health and Well-Being. Jurnal Kejuruteraan.

Fan, L., & Ding, Y. (2022). Research on risk scorecard of sick building syndrome based on machine learning. Building and Environment.

Hai, N. D., Thy, L. L., & Chanh, D. N. (2018). Prevalence of Sick Building Syndrome - Related Factors among Hospital Workers at University Medical Center Ho Chi Minh City, Vietnam. journal of University of Medicine and Pharmacy at Ho Chi Minh City. https://doi.org/10.32895/UMP.MPR.2.2

Hoang Quoc, C., Vu Huong, G., & Nguyen Duc, H. (2020). Working Conditions and Sick Building Syndrome among Health Care Workers in Vietnam. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17.

Kalender-Smajlović, S., Dovjak, M., & Kukec, A. (2021). Sick building syndrome among healthcare workers and healthcare associates at observed general hospital in Slovenia. Central European journal of public health. 29 1, 28-37.

Kalender-Smajlović, S., Kukec, A., & Dovjak, M. (2019). Association between Sick Building Syndrome and Indoor Environmental Quality in Slovenian Hospitals: A Cross-Sectional Study. International Journal of Environmental Research and Public Health. 16 (3224), 2-18.

Kannirun, M., Surawattanasakul, V., Rattananupong, T., & Jiamjarasrangsi, W. (2023). Prevalence and Association of Indoor Environmental Factors and Sick Building Syndrome among Workers of Army Medical Department Headquarter, Bangkok. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 23 (3), 197-205. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/JRTAN/article/view/255209

Mahdizadeh, A., Sadat Kia, N., & Pahlevan, D. (2023). Prevalence of Sick Building Syndrome and Its Related Factors in Medical Staff in Iran: A Cross-sectional Study [Research Article]. Middle East J Rehabil Health Stud, In Press(In Press), e141003. https://doi.org /10.5812/mejrh-141003

Rahayu, E. P., Maharani, R., Jepisah, D., & Suhara, A. (2023). Analysis of Symptoms of Sick Building Syndrome for Nurses in Hospital Inpatient Rooms.Jurnal Penelitian Pendidikan IPA.

Roser, M. (2021). Data Review: How many people die from air pollution?. Online. Retrieved November 26, 2023. from https://ourworldindata.org/data-review-air-pollution-deaths

Salvaraji, L., Shamsudin, S. B., Avoi, R., Saupin, S., Kim Sai, L., Asan, S. B., Toha, H. R. B., & Jeffree, M. S. (2022). Ecological Study of Sick Building Syndrome among Healthcare Workers at Johor Primary Care Facilities. International Journal of Environmental Research and Public Health. 19 (24). https://doi.org/10.3390

/ijerph192417099

SingaporeStandardsCouncil. (2021). SS 554-+A1:2016:2021; Code of Practice for Indoor Air Quality for Air-Conditioned Buildings. SSC—Singapore Standard Coucil.

Swangsoonthonwes, P., Kesornthong, S., & Homkham, N. (2021). Risk Factors and Prevalent of Sick Building Syndrome among Back-office Workers in a Thai University Hospital. Indian Journal of Public Health Research & Development. 13 (1), 231-239. https://doi. org/10.37506/ijphrd.v13i1.17357