การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลวัดตูม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อภิชัย คุณีพงษ์
ศรีสุรางค์ เอี่ยมสะอาด
พัฒนา พรหมณี

บทคัดย่อ

          โรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีสาเหตุมาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งเป็นระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 214 คนใช้การสุ่มอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 13 คน ใช้วิธีการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
         ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้โรคเบาหวาน การรับรู้ด้านสุขภาพ พฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับสูง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.72, 2.59 และ 2.31 ตามลำดับ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้สิ่งชักนำให้ปฏิบัติ การรับรู้ความรุนแรงและความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .381, .376, .335, .309, .263 และ .230, p < 0.01 ตามลำดับ) แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานได้แก่ (1) พัฒนาการรับรู้การดูแลตนเองและสร้างความตระหนัก (2) พัฒนาทักษะการดูแลและกำกับตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (3) ส่งเสริมการดูแลและกำกับตนเอง (4) อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และ (5) ประเมินผลระดับน้ำตาลในเลือด ผลการประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมและด้านความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ปฏิบัติอยู่ในระดับสูง
          ข้อเสนอแนะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรให้การส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโดยการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก สร้างการรับรู้ด้านสุขภาพเพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2562). เตือนประชาชนใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองและคนในครอบครัว ระวังป่วยโรคเบาหวาน. ออนไลน์. สืบค้น 25 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://pr.moph.go.th

กมลพร สิริคุตจตุพร, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และ นารีรัตน์ จิตรมนตรี. (2560). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล. 32 (1), 81–93.

กมลพรรณ จักรแก้ว. (2561). การดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ตำบลลวงเหนืออำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่

กาญจนา ปัญญาเพ็ชร์, นิภา มหารัชพงศ์ และ ยุวดี รอดจากภัย. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่สอง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 31 (3), 151-163.

จิรภัค สุวรรณเจริญ และคณะ. (2564). การศึกษาพฤติกรรมทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบล หนองแวง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 4 (2), 139-148.

ชัชลิต รัตรสาร. (2560). สถานการณ์ปัจจุบัน และความร่วมมือเพื่อปฏิรูปการดูแลรักษาโรคเบาหวานในประเทศไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.novonordisk. com/ content/dam/Denmark/HQ/sustainablebusiness/per formance-on-tbl/more-about-how-we-work/Creating%20shared%20value/PDF/Thailand%20Blueprint%20for %20Change_2017_TH.pdf

ธนะวัฒน์ รวมสุก, อารยา ทิพย์วงศ์, พรพรรณ วรสีหะ, และ สุรินธร กลัมพากร. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพกับสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 51 (3), 214-222.

ธีรนันท์ วรรณศิริ. (2559). สัมพันธภาพในครอบครัวในการส่งเสริมการดูแลตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้. วารสารเกื้อการุณย์. 23 (2), 31-50.

ลักษณา พงษ์ภุมมา และ ศุภรา หิมานันโต. (2560). ความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลบางทราย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสาร มฉก.วิชาการ. 20 (40), 67-76.

พรรณิภา บุญเทียร, จงจิต เสน่หา, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล และ จงกลวรรณ มุสิกทอง. (2563). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อดัชนีมวลกาย พฤติกรรมการควบคุมภาวะเมตาบอลิกซินโดรม และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรตํารวจ. วารสารพยาบาลทหารบก. 18 (พิเศษ), 346-356.

ศิวิไล บรรเทาทุกข์. (2565). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2566. แหล่งที่มา: https://drive.google.com/file/d/1tBB5qnz5ZKw6iaOI17_ C9d3o4lPhk_sH/view?usp=share_link

สมฤดี บัวป้อม. (2565). ความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและวิจัยทางการแพทย์. 37 (1), 83-95.

เสน่ห์ แสงเงิน และถาวร มาต้น. (2562). พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เขตพื้นที่ชายแดนฝั่งตะวันตก จังหวัดตาก. การประชุมระดับชาติ. เครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 13 “ขับเคลื่อนพลังเครือข่ายการวิจัย และนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาประเทศไทย 4.0 ให้ยั่งยืน” วันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่. หน้า 885-892 (proceeding).

สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 4 (1), 191-204.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (2566). รายงานประจำปี 2566. (เอกสารอัดสำเนา).

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Daniel, W.W. (2010). Biostatistics: Basic Concepts and Methodology for the Health Sciences (9 thed.). New York: John Wiley & Sons.

Orem, D. E. (1995). Nursing: Concepts of Practice. Missouri: C.V. Mosby.