การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิกสำหรับนักศึกษาพยาบาล

Main Article Content

ฆนรส อภิญญาลังกร
วารีรัตน์ แก้วอุไร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิก สำหรับนักศึกษาพยาบาล โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการให้เหตุผลทางคลินิก และแนวทางพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ ทดลองนำร่องเพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล 3) ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่าง นักศึกษาพยาบาล จำนวน 21 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม 4) ประเมินรูปแบบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระและแบบกลุ่มเดียว
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลส่วนใหญ่มีปัญหาการให้เหตุผลทางคลินิกด้านการรวบรวมข้อมูล ตีความกำหนดปัญหา และการปฏิบัติ แนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงควรมีกิจกรรมประชุมปรึกษาก่อนและหลังปฏิบัติงาน การเรียนการสอนข้างเตียง การสะท้อนคิด ใช้คำถาม แผนผังความคิด แบบอย่างที่ดีของผู้สอน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบดังนี้ คือ (a) หลักการ (b) วัตถุประสงค์ (c) เนื้อหา (d) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (e) การวัดและประเมินผล กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ (1) เตรียมความพร้อมผู้เรียน (2) เผชิญกับสถานการณ์การปฏิบัติการพยาบาล (3) ใคร่ครวญอย่างมีวิจารณญาณและแลกเปลี่ยนทางความคิดอย่างมีเหตุผล (4) เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการพยาบาล (5) สรุปการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลง ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คู่มือการใช้รูปแบบมีความเหมาะสมในระดับมาก รูปแบบมีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) ร้อยละ 63.47
3) นักศึกษาพยาบาลที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิกหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) นักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด  ( =4.64)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤติยา ขัติยะ. (2565). การพัฒนารูปแบบเสริมสร้างความสามารถในการคิดไตร่ตรองเชิงวิพากษ์ทางการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันสำหรับครูบรรจุใหม่. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กิตติมา สาธุวงษ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้บทเรียนมัลติมีเดียเชิงสถานการณ์และวิธีการฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมณี, พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ ชนาธิป พรกุล. (2545). กระบวนการเรียนรู้ ความหมาย แนวทางการพัฒนา และปัญหาข้องใจ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทิดศักดิ์ ผลจันทร์. (2560). เทิดศักดิ์ผลจันทร์. (2560). การเรียนรู้แบบลงลึกและการคิดตรึกตรอง(Reflection). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายนยน 2564. แหล่งที่มา: http://www.med.nu.ac.th/ dpMed/fileKnowledge/80_2016-12-06.pdf

บุญชุม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

มิลินทรา กวินกมลโรจน์. (2557). การวิจัยและพัฒนากระบวนการชี้แนะที่อิงทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับชุดความคิดด้านการจัดการเรียนการสอนของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิจารณ์ พานิช. (2558). การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative learning. กรุงเทพมหานคร: บริษัทเอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

วรรณี ตปนียากร และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์. 10 (1), 70-77.

วรรณดี สุทธินรากร. (2560). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สยามปริทัศน์จำกัด.

ศศิธร ชิดนายี และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการฝึกหัดทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล อย่างมีวิจารณญาณ สําหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20 (4), 191-205.

ศิริรัตน์ จําปีเรือง, อมรรัตน์ วัฒนาธร, พูลสุข หิงคานนท์ และ วารีรัตน์แก้วอุไร. (2556). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกระบวนการสุนทรียสนทนา สําหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลยนเรศวร. 15 (3), 9-15.

สภาการพยาบาล. (2553). พระราชบัญญัติวิชาชีพ การพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: ศิริยอดการพิมพ์.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพมหานคร: สํานักนายกรัฐมนตรี.

สุพรรณี กัณหดิลก, ตรีชฎา ปุ่นสำเริง และ ศิริวรรณ ผูกพัน. (2560). การบูรณาการวิธีการสอนภาคปฏิบัติ ต่อความรู้ ระดับการสะท้อนคิด และทักษะการตัดสินทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล ปีที่ 3 ในวิชาปฏิบัติการพยาบาล มารดา ทารกและการผดุงครรภ์ 1. วารสาร มฉก.วิชาการ. 20 (40), 87-99.

Alfaro-Lefevre, R. (2019). Critical thinking Critical reasoning and Clinical Judgement A Practice Approach (7th ed.) St. Louise: Sauders Elsevier.

Damodaran, L., B, S., Mahendra, J., & S, A. (2015). Assessment of Clinical Reasoning in B

Sc Nursing Students. International Journal of Science and Research. 6 (8), 1792-1794.

Deveau, M., Z., & Redmond, S. (2021). Exploring Cognitive Biases and Clinical Reasoning

During Simulation With BScN Students. Clinical Simulation in Nursing. 61, 1-5.

John M. L., & Karishma R. D. (2015). Using transformative learning theory to develop metacognitive and self-reflective skills in pharmacy students: A primer for pharmacy educators. Currents in Pharmacy Teaching and Learning. 7 (5), 669–675.

Khan, A., Haq, F., Saeedullah., Khan, N. (2024). Factors that affect the clinical reasoning competencies among undergraduate nursing students : a cross-sectional study. Journal of Population Therapeutics & Clinical Pharmacology. 31 (2), 651-657.

Kuiper, R., O’donnell, S., Pesut, D, J., Turrise, S. L. (2017). The Essentials of Clinical Reasoning for Nurse: Using the Outcome-Present State-Test Model for Reflective Practice. Bost: EBSCO Publishing.

LaManna, J, B., Guido-Sanz, F., Anderson, M., Chase, S, K., Weiss, J, A., Blackwell, C, W. (2019). Teaching Diagnostic Reasoning to Advanced Practice Nurses: Positives and Negative. Clinical Simulation in Nursing. 26, (24-31).

Mezirow, J. (2000). Learning as transformation: Critical perspectives on a theory in progress. San Francisco: Jossey-Bass.

Mezirow, J. (2009). Transformation Learning in Practice: insights from Community, Workplace, and Higher Education. San Francisco: Jossey Bass.

McAlllister, M., Oprescu, F., Downer, T., Lyons, M., Pelly, F., & Barr, N. (2013). Evaluating star-a transformative learning framework: Interdisciplinary action research in health training. Educaitional Action Research. 21 (1), 90-106

McCurdy, N., Naismith, L., & Lajoie, S., P. (2010). Using Metacognitive Tools to Scaffold Medical Students Developing Clinical Reasoning Skills. Online. Retrieved May 1, 2021, from https://cdn.aaai.org/ocs/2232/2232-9463-1-PB.pdf

Rosalinda A-L. (2017). Critical Thinking, Clinical Reasoning, and Clinical Judgment: A PRACTICAL APPROACH. United States: Elsevier Inc.

Tanner, C. A. (2006). Thinking like a nurse: A research-based model of clinical judgment in nursing. Journal of Nursing Education. 45 (6), 204-211.

Trommelen, R, D., Karpinski, A., and Chauvin, S. (2017). Impact of Case-Based Learning and Reflection on Clinical Reasoning and Reflection Abilities in Physical Therapist Students. Journal of Physical Therapy Education. 31 (1), 21-30.