พลังชีวิตของภาษาจ้วงมณฑลกวางสี ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน

Main Article Content

หวง หยวนหยวน
ขนิษฐา ใจมโน
บุญเหลือ ใจมโน
ธนพร หมูคำ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแปรคำศัพท์ภาษาจ้วงที่ใช้ในชีวิตประจำวัน จำนวน 200 คำจากคำศัพท์ภาษาจ้วง 16 หมวด ในเขตเมืองจิ้งซี มณฑลกวางสี ประเทศสาธาณรัฐประชาชนจีน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีค่าสถิติร้อยละประกอบการอธิบายแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผู้วิจัยคัดเลือกผู้บอกภาษา   ที่พูดภาษาจ้วงใน 2 เขต ได้แก่ เขตชนบทภาคใต้และเขตเมืองภาคเหนือของเมืองจิ้งซี แบ่งผู้บอกภาษาเป็นสามกลุ่มอายุ คือ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป 15 คน กลุ่มอายุ 30-55 ปี 15 คน  และกลุ่มอายุ 10-25 ปี 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบัตรคำ แบบสอบถามทัศนคติ และตารางเปรียบเทียบคำศัพท์
          ผลการวิจัยพบว่า มีความแตกต่างของการใช้คำศัพท์ภาษาจ้วงดั้งเดิมระหว่างเขตชนบท จำนวน 134 คำ คิดเป็นร้อยละ 67 และเขตเมือง จำนวน 66 คำ คิดเป็นร้อยละ 33 การเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ตามกลุ่มอายุ โดยกลุ่มอายุ 10-25 ปี มีการเปลี่ยนแปลง 5 ด้าน ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงเสียงพยัญชนะ  การเปลี่ยนแปลงเสียงวรรณยุกต์ การเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากภาษาจีนกลาง การสูญศัพท์ และการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก กลุ่มอายุ 30-55 ปี และ กลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป มีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก โดยมีเหตุผลจากการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ และอิทธิพลจากภาษาภายนอกชุมชน แม้ภาษาจ้วงจะยังคงรักษาความหมายของคำศัพท์ดั้งเดิมไว้ หากแต่การเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก เช่น การใช้ภาษาจีนกลางหรือภาษาอื่น ทำให้เกิดการผสมผสานกับสำเนียงท้องถิ่นหรือบางครั้งทำให้คำศัพท์หายไปจากภาษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาน หยิ่ง, ธนานันท์ ตรงดี และลู่ เสี่ยวฉิน. (2553). การศึกษาความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมในด้านการดำเนินชีวิตและการผลิตของไทย จ้วง และจีนกวางตุ้งโดยศึกษาจากคำร่วมเชื้อสาย. ในอีสานศึกษาความหลากหลาย ทางวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปริญญา ทองประภา. (2554). การแปรของภาษา (Language Variations). ออนไลน์. สืบค้น 25 มกราคม 2563. แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/438894.

พิณรัตน์ อัครวัฒนานุกูล. (2544). การศึกษาเปรียบเทียบระบบวรรณยุกต์ในภาษาของคน “ลาว” คน “ญ้อ” และคน “ผู้ไท” ในอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาริด เจริญราษฏร์. (2563). การแปรการใช้คำกริยาภาษาตากใบ (เจ๊ะเห) ตามระดับอายุของผู้ใช้ภาษาในตำบลเจ๊ะเหอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 14 (1)

หยิงหยิง เหลียง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับชมซีรีย์วายไทยกับทัศนคติที่มีต่อชายรักชายของ ชาวจีนในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง. วิทยานิพนธ์.หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมทรง บุรุษพัฒน์. (2561). จากหนังสือเรื่อง “มองไทดำผ่านคำเรียกญาติ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Fishman, J. (1972). The sociology of language. Rowley, Massachusetts: Newbury House Publishers.

Liang Zhenshi. (1984). A Brief Discussion on the Kinship between Zhuang Language and Chinese [J]. Journal of Guangxi University (Philosophy and Social Sciences Edition),1984 (02), 20-27.

Liang Zhenshi. (1984). A Brief Discussion on the Kinship between Zhuang Language and Chinese [J]. Journal of Guangxi University (Philosophy and Social Sciences Edition),1984 (02), 20-27.

Summer Institute of Linguistics. (2015). Language vitality. Online. Retrieved December 2, 2015. from http://www.sil.org/languageassessment/language-vitality.

The Royal Institute. (2010). Linguistic dictionary:Applied linguistics (พจนานุกรมศัพท์ภาษาศาสตร์: ภาษาศาสตร์ประยุกต์). Bangkok: Rungsilp.

Wei Li. (2009). A Review of the Influence of Zhuang Language on Guangxi Chinese Dialects. Modern Languages: Late Period. Language Studies. (6), 101.

Yuan Shanlai & Huang Nanjing. (2005). Alternations and the External Reasons for Their Prosperity of Guangxi Dominating Languages(Including Local Chinese Dialects and Putonghua. Journal of Liuzhou Teachers College. 3, 64 – 67.