ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ตามแนวคิดความฉลาดรู้ด้านความเป็นธรรมระหว่างเพศ

Main Article Content

เอกชน มั่นปาน
สุกัญญา แช่มช้อย
เพ็ญวรา ชูประวัติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ด้านความเป็นธรรมระหว่างเพศ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 377 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายงานวิชาการหรือหัวหน้าฝ่ายงานวิชาการ 1 คน ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา 1 คน รวมโรงเรียนละ 3 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,131 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ด้านความเป็นธรรมระหว่างเพศที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.970 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNImodified)
          ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดความฉลาดรู้ด้านความเป็นธรรมระหว่างเพศ ในภาพรวม คือ 1.831 เมื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (PNImodified = 2.393) รองลงมาคือ ด้านการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNImodified = 2.170) และด้านการวัดและการประเมินผล มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNImodified = 0.930) เมื่อพิจารณาตามความฉลาดรู้ด้านความเป็นธรรมระหว่างเพศ องค์ประกอบย่อยที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด คือ การแก้ไขอคติทางเพศ รองลงมา คือ การยอมรับเรื่องเพศ การสนับสนุนเรื่องเพศ และการตอบสนองต่ออคติทางเพศ ส่วนการปลูกฝังทางเพศมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาน้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ การุญ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, นันทรัตน์ เจริญกุล. (2567). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา ตามแนวคิดความเป็นพลเมืองกับความยุติธรรมทางสังคม. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9 (3), 351-367.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือฝึกอบรมวิทยากร การปรับกระบวนทัศน์และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์กรการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จักรพงษ์ พร่องพรมราช, อนุศร หงส์ขุนทด และ วันทิตา ทะลาสี. (2021). การพัฒนาแบบวัดและเกณฑ์ปกติความฉลาดรู้ทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์. 8 (2), 23-35.

พูลสุข บุญก่อเกื้อ. (2560). การพัฒนาความฉลาดทางเพศของนักศึกษาปริญญาตรีโดยรูปแบบการปรึกษากลุ่มเชิงบูรณาการ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย พ.ศ. 2550. (2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47. หน้า 8.

เบญญาภา วิไลวรรณ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, และ สุกัญญา แช่มช้อย. (2567). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดทักษะของนวัตกร. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9 (1), 324-340.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร.

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2552). แนวคิดและหลักการจัดทำแผนกลยุทธ์ การบริหารและการจัดการศึกษาเพื่อโลกใบเล็ก. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

พรหมนิพิฐ เหมือนรอดดี และ ฉัตรวรัญ องคสิงห์. (2563). ความเหลื่อมล้ำของร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตของเพศทางเลือกในสังคมไทย. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15. 13 สิงหาคม 2563. มหาวิทยาลัยรังสิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรังสิต.

รุ่งรัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สงขลา: ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิทวัช กุยแก้ว, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และ สุกัญญา แช่มช้อย. (2566). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตามแนวคิดผู้เชี่ยวชาญการเรียนรู้ตลอดชีวิต. Journal of Roi Kaensarn Academi. 8 (7), 50-67.

วุฒิชัย ไกรวิเศษ, พงษ์ลิขิต เพชรผล และ สุกัญญา แช่มช้อย. (2567). ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามแนวคิดนวัตกรพลิกผัน. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9 (2), 62-80.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นําการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2565). การบริหารวิชาการที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคพลิกผัน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Eden, M. (2021). The Best Way to" Ban" Critical Race Theory: Prohibiting Promotion Rather than Inclusion or Compulsion. American Enterprise Institute.

English, F. W. (2000). Deciding what to teach and test: Developing, aligning, and auditing the curriculum. Corwin Press.

Gorski, P. (2020). Equity literacy: Definition and abilities. Equity Literacy Institute.

Dodman, S. L., Swalwell, K., DeMulder, E. K., & Stribling, S. M. (2021). Critical data-driven decision making: A conceptual model of data use for equity. Teaching and Teacher Education. 99, 103272.

Green, T. L. (2017). Community-based equity audits: A practical approach for educational leaders to support equitable community-school improvements. Educational Administration Quarterly. 53 (1), 3-39.

Lazar, A. M., Edwards, P. A., & McMillon, G. T. (2012). Bridging literacy and equity: The essential guide to social equity teaching. Teachers College Press.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607–610.

Leach, M., Mehta, L., & Prabhakaran, P. (2016). Gender equality and sustainable development: A pathways approach. The UN Women Discussion Paper.

UNICEF. (2018). Global Annual Results Report: Gender Equality. New York: UNICEF.

World Economic Forum. (2017). Accelerating workforce reskilling for the fourth industrial revolution: An agenda for leaders to shape the future of education, gender, and work. Geneva, Switzerland, World Economic Forum.

World Economic Forum. (2020). Insight Report: Global Gender Gap Report 2020. Report 2020. Geneva, World Economic Forum.