การบริหารจัดการศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน เครือข่ายท่องเที่ยวโดยชุมชนสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน เป็นวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ทดสอบค่า t - test F - test วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยรายคู่ใช้ LSD การวิจัยเชิงคุณภาพ การสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน การสัมภาษณ์แบบเชิงลึก จำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับการบริหารจัดการศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านการดึงดูดทางการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านศักยภาพของบุคลากรชุมชน ด้านการจัดการข้อมูลเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว ด้านการสร้างการรับรู้คุณค่า ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ด้านการบริหารจัดการท่องเที่ยว และด้านความปลอดภัย
2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3) แนวทางการการบริหารศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบยั่งยืน พบว่า ต้องเริ่มจากคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ผู้นำชุมชนต้องเข้มแข็ง เครือข่ายทุกภาคส่วนต้องส่งเสริมผลักดัน ชุมชนต้องเป็นเจ้าบ้านที่ดี สร้างความรู้สึกปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ รักษาความเป็นเอกลักษณ์ ความมีชื่อเสียง รู้รักหวงแหนมองเห็นคุณค่า เชื่อมโยงการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ เข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟู อนุรักษ์ พัฒนา ต่อยอดสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน
Article Details
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย.
จุฑาธิปต์จันทร์เอียด, อังสุมาลิน จํานงชอบ, และณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนของชุมชนบ้านริมคลอง จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 9 (2), 21-38.
ดวงดาว โยชิดะ. (2565). แนวทางการพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านปะอาว อ.เมือง จ. อุบลราชธานี บนแนวคิด “คันโคมะจิซทึคุริ”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. 12 (1), 109-122.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวรีิยาสาส์น.
วรากรณ์ ใจน้อย, ชูพักตร์ สุทธิสา และ เสาวภา สุขประเสริฐ. (2560). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ เขตเทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 7 (22), 109-121 .
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ASEAN Secretariat. (2010). Master Plan on ASEAN Connectivity. Jakarta: ASEAN Secretariat.
Collier, A. & Harraway, S. (1997). Principler of Tourism. Auckland: Longman.
World Tourism Organization (UNWTO). (2018). UNWTO Tourism Highlights 2018Edition. Online. Retrieved January 6, 2019, from https://www.e-unwto.org/doi/pdf/10.18111/ 9789284419876.