บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรม ระดับ 3 ดาวในประเทศไทย

Main Article Content

กัมปนาท บูรณะบัญญัติ
อนงค์ ไต่วัลย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) กระบวนการจัดการ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาวในประเทศไทย 2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA)  กระบวนการจัดการ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาวในประเทศไทย และ 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแปร ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของบุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาวในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยคือพนักงานในระดับผู้บริหารหรือพนักงานในระดับหัวหน้างานขึ้นไปที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรมระดับ 3 ดาวในประเทศไทย จำนวน 271 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ทำการตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ค่าระหว่าง 0.757 ถึง 0.938 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าสถิติเชิงพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)
           พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่า Chi-Square =230.15, df=107, Relative Chi-Square=2.15, GFI=.90, NFI=.92, TLI=.94, CFI=.95, RMSEA=.06 และ RMR=.01 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าตัวแปร มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) กระบวนการจัดการ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ และการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน และตัวแปรมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย (SHA) กระบวนการจัดการ คุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานผ่านการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลนัดดา สายสอน. (2561). กระบวนการจัดการที่มีอิทธิพลต่อความมีประสิทธิผลขององค์การสำหรับธุรกิจก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสยามวิชาการ. 19 (2), 79-95.

จัตตาร์พร กลางสวัสดิ์ และกันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ. (2565). การจัดการโรงแรมที่พักขนาดกลางแบบวิถีความปกติใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 4 (6), 1-15.

จิราภรณ์ เอื้อศิริพรฤทธิ์ และ พจนา จันทรภาส. (2558). แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารและการปฏิบัติงานตามกระบวนการบริหารจัดการของผู้บริหารระดับต้นในการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์สาขาบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ณัฐชานันท์ สิริปิยพัทธ์. (2565). แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในช่วงวิกฤตโควิด-19. วิทยานิพนธ์ปริญญาเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์. ภาควิชาเคหการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

ดุษฎี เทียมเทศ บุญมาสูงทรง, ฉัตรชัย อินทสังข์, สุวัฒนา ตุ้งสวัสดิ์ และ ปฏิมา ถนิมกาญจน์. (2564). อิทธิพลของการมุ่งเน้นการตลาดและการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และผลการดำเนินงาน ทางการตลาด. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ. 8 (1), 1-14.

ธีรภัทร เกื้อชู และ ยุทธชัย ฮารีบิน. (2564). แนวทางกำหนดกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมโรงแรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (COVID-19) พื้นที่ตำบลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 14 (หน้า 66-78). อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

ฝนทิพย์ ฆารไสว, ณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ และไว จามรมาน. (2555). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จของธุรกิจโรงแรม ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่างของไทย. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรสวร. 7 (1), 39-50.

พิมพ์ชนก สมควร, วีระ วีระโสภณ และ บัว ศรีคช. (2565). การสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นในการให้บริการของโรงแรมขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร หลังสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. Journal of SaengKhomKham Buddhist Studies. 7 (2), 247-262.

วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัย, อภิชญา พิภวากร และ วชิราภรณ์ จีระว่องวิทย์. (2565). แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรมภายหลังวิกฤตโควิด19 ด้วยการยกระดับสู่อุตสาหกรรมเชิงสุขภาพ. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 14 (หน้า 2522-2534). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ศศินิภา ศรีกัลยานิวาท. (2565). ความสามารถเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สมาคมโรงแรมไทย. (2567). ผลสํารวจความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่พักแรม เดือน ธันวาคม 2566. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการที่พักแรม (Hotel Business Operator Sentiment Index), หน้า 1-4.

World travel & Tourism council. (2020). LEADING GLOBAL PROTOCOLS FOR THE NEW NORMAL. Online. Retrieved November 30, 2023. from : https://wttc.org/ initiatives/crisis-preparedness-management-recovery/safetravels-global-protocols-stamp

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis. London: Pearson Education Limited.

Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (1992). The Balanced Scorecard - Measures that Drive Performance. Harvard. Business Review. 70 (1), 71-79.

Khit, M. T., Thanabordeekij, P. & Leurcharusmee, S. (2023). The Adaptation of Small and Medium-Sized Enterprises from an Incident of COVID-19: A Psychological Case Study of Myanmar. Journal for Re Attach Therapy and Developmental Diversities, 6(6), 510-522.

Kline, R. B. (2016). Principles and Practice of Structural Equation Modeling. New York: The Guilford Press.

Porter, M. E. (1985). The Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. New York: The Free Press.

Schumacker, R. E. & Lomax, R. G. (2010). A beginner's Guide to Structural Equation Modeling. New York: Taylor and Francis Group.