การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรม : กรณีศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดกำแพงเพชรสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร เป็นการวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เพื่อใช้ทดลองนวัตกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลก่อนและหลังเรียน แบบประเมินการเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนหลังเข้าร่วมกิจกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบที (Paired Samples t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวคือ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 2 แผน โดยมีกิจกรรมการนำเที่ยวและออกแบบกิจกรรมเพื่อเป็นแนวทางการประชาสัมพันธ์โบราณสถาน นักเรียนผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจสูงกว่าก่อนการใช้นวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับการเห็นคุณค่าศิลปวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร สูงกว่าก่อนการใช้นวัตกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พฤติกรรมที่แสดงออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่าด้านการตอบสนองอยู่ในระดับมากที่สุด คือการลงมือปฏิบัติอย่างตั้งใจ มีความสุขที่ได้เรียนรู้ มีส่วนร่วมในชั้นเรียน และการตอบคำถามในชั้นเรียน ความคิดเห็นที่ผู้เรียนมีต่อกิจกรรม กล่าวคือ เนื้อหาไม่น่าเบื่อ รู้สึกสนุก โดยมีเพื่อนร่วมชั้นเรียนเป็นผู้สอน และได้สอนเพื่อนผ่านกิจกรรมที่กลุ่มตนเองออกแบบ เป็นต้น
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
จักรแก้ว นามเมือง. (2559). การสอนกับทฤษฎี 3 อ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 3 (2), 84-97.
ณชนก หล่อสมบูรณ์ และ โสมฉาย บุญญานันต์. (2562). รูปแบบกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเก่าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. 23 (1). 97-108.
ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญมี เณรยอด. (2550). หลักการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์. (2561). จิตวิทยาศิลปะ สุนทรียศาสตร์เชิงประจักษ์ . (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2562). แผนปฏิบัติการด้านการสร้างและพัฒนากำลังคน เพื่อการไปสู่ดิจิทัลไทยแลนด์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563. แหล่งที่มา: https://www.ocsc.go.th/digital_hr
Kolb, D.A. (1984). Experiential learning: Experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs,NJ : Prentice Hall.
Michaelson, L.k. (2007). Getting Started With Team Based Learning. Online. Retrieved Febuary 1, 2021, from https://www.researchgate.net/publication/246322067_Getting_ Started_ with_Team-based_Learning
Tony, W. (2009). Seven Survival Skill. Online. Retrieved Febuary 1, 2021, from https://wiki. bath.ac.uk/display/charlescornelius/Tony+Wagner's+Seven+Survival+Skills